เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 2.ภูตคามวรรค 4.ปฐมเสนาสนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[109] ก็ ภิกษุใดวางไว้ หรือใช้ให้วางไว้ซึ่งเสนาสนะ คือ เตียง ตั่ง ฟูก
หรือเก้าอี้ของสงฆ์ในที่กลางแจ้ง เมื่อจะจากไป ไม่เก็บ หรือไม่ใช้ให้เก็บ
เสนาสนะนั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

ทรงอนุญาตให้เก็บเสนาสนะ
[110] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายอยู่ในที่กลางแจ้ง รีบเก็บเสนาสนะก่อนเวลา
อันสมควร พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นภิกษุเหล่านั้นรีบเก็บเสนาสนะก่อน
เวลาอันสมควร ครั้นแล้วทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับภิกษุ
ทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บเสนาสนะไว้ในมณฑป โคนไม้ หรือใน
ที่ซึ่งกาหรือเหยี่ยวจะไม่ถ่ายมูลรดได้ตลอด 8 เดือนที่ไม่ใช่ฤดูฝน”

สิกขาบทวิภังค์
[111] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ของสงฆ์ ได้แก่ ของที่มีผู้ถวาย บริจาคแก่สงฆ์
ที่ชื่อว่า เตียง ได้แก่ เตียง 4 ชนิด คือ (1) เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าในขา
(2) เตียงมีแคร่ติดกับขา (3) เตียงมีขาดังก้ามปู (4) เตียงมีขาจดแม่แคร่
ที่ชื่อว่า ตั่ง ได้แก่ตั่ง 4 ชนิด คือ (1) ตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในขา (2) ตั่งมี
แม่แคร่ติดกับขา (3) ตั่งมีขาดังก้ามปู (4) ตั่งมีขาจดแม่แคร่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :292 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 2.ภูตคามวรรค 4.ปฐมเสนาสนสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ฟูก ได้แก่ ฟูก 5 ชนิด คือ (1) ฟูกขนสัตว์ (2) ฟูกเศษผ้า
(3) ฟูกเปลือกไม้ (4) ฟูกหญ้า (5) ฟูกใบไม้
ที่ชื่อว่า เก้าอี้ ได้แก่ เก้าอี้ที่เขาถักพื้นสำหรับนั่งภายใน ทำด้วยเปลือกไม้ก็มี
ทำด้วยหญ้าแฝกก็มี ทำด้วยหญ้ามุงกระต่ายก็มี ทำด้วยหญ้าปล้องก็มี
คำว่า วางไว้ คือ วางไว้ด้วยตนเอง
คำว่า ใช้ให้วางไว้ คือ ใช้ให้ผู้อื่นให้วางไว้
ภิกษุใช้อนุปสัมบันให้วางไว้ เป็นภาระของภิกษุนั้น ใช้อุปสัมบันให้วางไว้ เป็น
ภาระของผู้วางไว้
คำว่า เมื่อจะจากไปไม่เก็บ...เสนาสนะนั้น คือ ไม่เก็บด้วยตนเอง
คำว่า ไม่ใช้ให้เก็บ คือ ไม่ใช้ให้ผู้อื่นเก็บ
คำว่า หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ความว่า ภิกษุไม่บอกมอบหมาย
ภิกษุ สามเณรหรือคนวัด เดินล่วงเลฑฑุบาต1 ของบุรุษมีกำลังปานกลางไป ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[112] เสนาสนะของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของสงฆ์ วางไว้หรือใช้ให้วางไว้
ในที่กลางแจ้ง เมื่อจะจากไป ไม่เก็บ หรือไม่ใช้ให้เก็บเสนาสนะนั้น หรือไม่บอก
มอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เสนาสนะของสงฆ์ ภิกษุไม่แน่ใจ วางไว้ หรือใช้ให้วางไว้ในที่กลางแจ้ง เมื่อ
จะจากไป ไม่เก็บ หรือไม่ใช้ให้เก็บเสนาสนะนั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย
ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
1 คำว่า “เลฑฑุบาต” ได้แก่ ระยะโยนหรือขว้างก้อนดินไปตก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :293 }