เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 2.ภูตคามวรรค 4.ปฐมเสนาสนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[109] ก็ ภิกษุใดวางไว้ หรือใช้ให้วางไว้ซึ่งเสนาสนะ คือ เตียง ตั่ง ฟูก
หรือเก้าอี้ของสงฆ์ในที่กลางแจ้ง เมื่อจะจากไป ไม่เก็บ หรือไม่ใช้ให้เก็บ
เสนาสนะนั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

ทรงอนุญาตให้เก็บเสนาสนะ
[110] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายอยู่ในที่กลางแจ้ง รีบเก็บเสนาสนะก่อนเวลา
อันสมควร พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นภิกษุเหล่านั้นรีบเก็บเสนาสนะก่อน
เวลาอันสมควร ครั้นแล้วทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับภิกษุ
ทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บเสนาสนะไว้ในมณฑป โคนไม้ หรือใน
ที่ซึ่งกาหรือเหยี่ยวจะไม่ถ่ายมูลรดได้ตลอด 8 เดือนที่ไม่ใช่ฤดูฝน”

สิกขาบทวิภังค์
[111] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ของสงฆ์ ได้แก่ ของที่มีผู้ถวาย บริจาคแก่สงฆ์
ที่ชื่อว่า เตียง ได้แก่ เตียง 4 ชนิด คือ (1) เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าในขา
(2) เตียงมีแคร่ติดกับขา (3) เตียงมีขาดังก้ามปู (4) เตียงมีขาจดแม่แคร่
ที่ชื่อว่า ตั่ง ได้แก่ตั่ง 4 ชนิด คือ (1) ตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในขา (2) ตั่งมี
แม่แคร่ติดกับขา (3) ตั่งมีขาดังก้ามปู (4) ตั่งมีขาจดแม่แคร่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :292 }