เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 2.ภูตคามวรรค 3.อุชฌาปนกสิกขาบท บทภาชนีย์
พระอนุบัญญัติ
[105] ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษ เพราะ
บ่นว่า
เรื่องพระทัพพมัลลบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[106] ที่ชื่อว่า กล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษ คือ ภิกษุต้องการจะทำให้เสียชื่อ
ต้องการจะทำให้อัปยศ ต้องการจะทำให้เก้อเขิน จึงกล่าวให้ภิกษุทั้งหลายเพ่งโทษ
หรือบ่นว่าอุปสัมบันที่สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงเสนาสนะ แจกภัตตาหาร
แจกข้าวต้ม แจกผลไม้ แจกของเคี้ยวหรือแจกของเล็กน้อย ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง1 ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เพราะกล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษ เพราะบ่นว่า
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวให้ผู้อื่นเพ่ง
โทษ เพราะบ่นว่า
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เพราะกล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษ เพราะบ่นว่า

ทุกกฏ
ภิกษุกล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษหรือบ่นว่าอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

เชิงอรรถ :
1 กรรม คือการสมมติภิกษุให้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดแจงเสนาสนะเป็นต้น (วิ.อ. 2/106/296)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :289 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 2.ภูตคามวรรค 3.อุชฌาปนกสิกขาบท อนาปัตติวาร
ภิกษุต้องการจะทำให้เสียชื่อ ต้องการจะทำให้อัปยศ ต้องการจะทำอุปสัมบัน
ที่สงฆ์ไม่ได้แต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงเสนาสนะ แจกภัตตาหาร แจกข้าวต้ม แจก
ผลไม้ แจกของเคี้ยว หรือแจกของเล็กน้อย ให้เก้อเขิน จึงกล่าวให้ภิกษุทั้งหลาย
เพ่งโทษหรือบ่นว่าอุปสัมบันหรืออนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุต้องการจะทำให้เสียชื่อ ต้องการจะทำให้อัปยศ ต้องการจะทำอนุปสัมบัน
ที่สงฆ์แต่งตั้งก็ตาม ไม่ได้แต่งตั้งก็ตาม ให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงเสนาสนะ แจก
ภัตตาหาร แจกข้าวต้ม แจกผลไม้ แจกของเคี้ยวหรือแจกของเล็กน้อย ให้เก้อเขิน
จึงกล่าวให้ภิกษุทั้งหลายเพ่งโทษหรือบ่นว่าอุปสัมบันหรืออนุปสัมบัน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[107] 1. ภิกษุผู้กล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษ หรือบ่นว่าภิกษุผู้มักทำด้วยความชอบ
ด้วยความชัง ด้วยความหลง ด้วยความกลัว
2. ภิกษุวิกลจริต
3. ภิกษุต้นบัญญัติ

อุชฌาปนกสิกขาบทที่ 3 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :290 }