เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 1.มุสาวาทวรรค 10.ปฐวีขณนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[85] ก็ ภิกษุใดขุด หรือใช้ให้ขุดซึ่งดิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวี จบ

สิกขาบทวิภังค์
[86] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ดิน ได้แก่ ดิน 2 ชนิด คือ (1) ดินแท้ (2) ดินไม่แท้
ที่ชื่อว่า ดินแท้ คือ ดินร่วนล้วน ดินเหนียวล้วน ดินมีหินผสมนิดหน่อย
ดินมีกรวดผสมนิดหน่อย ดินมีกระเบื้องผสมนิดหน่อย ดินมีแร่ผสมนิดหน่อย ดิน
มีทรายผสมนิดหน่อย ดินร่วนเป็นส่วนมาก ดินเหนียวเป็นส่วนมาก แม้ดินที่ยังไม่
เผาไฟก็เรียกว่า ดินแท้
กองดินร่วนหรือดินเหนียวที่ฝนตกรดเกิน 4 เดือนก็เรียกว่า ดินแท้
ที่ชื่อว่า ดินไม่แท้ คือ หินล้วน ดินมีกรวดล้วน ดินมีกระเบื้องล้วน ดินมี
แร่ล้วน ดินมีทรายล้วน ดินมีดินร่วนผสมนิดหน่อย ดินมีดินเหนียวผสมนิดหน่อย
ดินมีหินมาก ดินมีกรวดมาก ดินมีกระเบื้องมาก ดินมีแร่มาก ดินมีทรายมาก
แม้ดินที่เผาไฟแล้วก็เรียกว่า ดินไม่แท้
กองดินร่วนหรือดินเหนียวที่ฝนตกรดยังไม่ถึง 4 เดือนก็เรียกว่า ดินไม่แท้
คำว่า ขุด คือ ภิกษุขุดเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า ใช้ให้ขุด คือ ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ขุด ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุสั่งครั้งเดียว เขาขุดหลายครั้ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :274 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 1.มุสาวาทวรรค 10.ปฐวีขณนสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
[87] ดิน ภิกษุสำคัญว่าเป็นดิน ขุดหรือใช้ให้ขุด ทำลายหรือใช้ให้ทำลาย
เผาหรือใช้ให้เผา ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ดิน ภิกษุไม่แน่ใจ ขุดหรือใช้ให้ขุด ทำลายหรือใช้ให้ทำลาย เผาหรือใช้ให้เผา
ต้องอาบัติทุกกฏ
ดิน ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ดิน ขุดหรือใช้ให้ขุด ทำลายหรือใช้ให้ทำลาย เผา
หรือใช้ให้เผา ไม่ต้องอาบัติ
ไม่ใช่ดิน ภิกษุสำคัญว่าเป็นดิน ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ดิน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ดิน ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ดิน ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[88] 1. ภิกษุกล่าวว่า “ท่านจงรู้ จงให้ จงนำสิ่งนี้มา เราต้องการสิ่งนี้
ท่านจงทำสิ่งนี้ให้เป็นกัปปิยะ”1
2. ภิกษุไม่จงใจ
3. ภิกษุไม่มีสติ
4. ภิกษุไม่รู้
5. ภิกษุวิกลจริต
6. ภิกษุต้นบัญญัติ
ปฐวีขณนสิกขาบทที่ 10 จบ
มุสาวาทวรรคที่ 1 จบ

เชิงอรรถ :
1 คือ ใช้ให้ผู้อื่นทำด้วยกล่าวว่า ท่านจงรู้หลุมเสา จงรู้ดินเหนียวมาก จงรู้ดินเหนียวผสมแกลบ ท่านจง
ให้ดินเหนียวมาก จงให้ดินเหนียวผสมแกลบ ท่านจงนำดินเหนียวมา จงนำฝุ่นมา ต้องการดินเหนียว
ต้องการฝุ่น ท่านจงทำหลุมเสานี้ให้เป็นกัปปิยะ จงทำดินเหนียวนี้ให้เป็นกัปปิยะ จงทำฝุ่นนี้ให้เป็นกัปปิยะ
คือให้เป็นของที่ควรใช้ (วิ.อ. 2/88/281)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :275 }