เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 1.มุสาวาทวรรค 9.ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
หยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบัน จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระ
พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบันเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
ดังนี้

พระบัญญัติ
[79] ก็ ภิกษุใดบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติ
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[80] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ของภิกษุ คือ ของภิกษุรูปอื่น
อาบัติที่ชื่อว่า ชั่วหยาบ ได้แก่ อาบัติปาราชิก 4 สิกขาบท และอาบัติ
สังฆาทิเสส 13 สิกขาบท
ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน คือ ยกเว้นภิกษุและภิกษุณี นอกนั้นชื่อว่าอนุปสัมบัน
คำว่า บอก คือ บอกแก่สตรีหรือแก่บุรุษ แก่คฤหัสถ์หรือแก่บรรพชิต
คำว่า เว้นไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติ คือ ยกเว้นภิกษุที่ได้รับมอบหมายจาก
สงฆ์1

เชิงอรรถ :
1 คือมอบหมายให้เป็นผู้บอกอาบัติ (ดู หน้า 271-272 ประกอบ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :270 }