เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 1.มุสาวาทวรรค 8.ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์
บอกว่าภิกษุอื่นเข้าทุติยฌาน ฯลฯ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของ
ท่าน ภิกษุรูปนั้นเข้าทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน... จตุตถฌานแล้ว... ภิกษุรูปนั้น
เข้าอยู่... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้เข้าแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้ทุติยฌาน... ภิกษุรูปนั้น
เป็นผู้ชำนาญ... ภิกษุรูปนั้นทำจตุตถฌานให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติทุกกฏ

บอกว่าภิกษุอื่นเข้าสุญญตวิโมกข์ ฯลฯ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่าน
ภิกษุรูปนั้นเข้าสุญญตวิโมกข์ ฯลฯ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตสมาธิ
อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิแล้ว ...ภิกษุรูปนั้นเข้าอยู่... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้เข้าแล้ว...
ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้อัปปณิหิตสมาธิ... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ชำนาญ... ภิกษุรูปนั้นทำ
อัปปณิหิตสมาธิให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติทุกกฏ

บอกว่าภิกษุอื่นเข้าสุญญตสมาบัติ ฯลฯ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของ
ท่าน ภิกษุรูปนั้นเข้าสุญญตสมาบัติ ฯลฯ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติแล้ว...
ภิกษุรูปนั้นเข้าอยู่... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้เข้าแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้อัปปณิหิตสมาบัติ
... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ชำนาญ... ภิกษุรูปนั้นทำอัปปณิหิตสมาบัติให้แจ้งแล้ว” ต้อง
อาบัติทุกกฏ

บอกว่าภิกษุอื่นเข้าวิชชา 3 ฯลฯ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวอวดอนุปสัมบันว่า “ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของ
ท่าน ภิกษุรูปนั้นเข้าวิชชา 3 ฯลฯ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4
อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 โสดาปัตติผล สกทาคามิผล
อนาคามิผล และอรหัตตผลแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเข้าอยู่... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้เข้าแล้ว...
ภิกษุรูปนั้นสละราคะแล้ว ภิกษุรูปนั้นสละโทสะแล้ว ภิกษุรูปนั้นสละ คาย พ้น ละ
สลัด เพิก ถอนโมหะขึ้นแล้ว จิตของภิกษุรูปนั้นปลอดจากราคะ จิตของภิกษุรูปนั้น
ปลอดจากโทสะ จิตของภิกษุรูปนั้นปลอดจากโมหะ” ต้องอาบัติทุกกฏ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :266 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 1.มุสาวาทวรรค 8.ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์
บอกว่าภิกษุอื่นเข้าปฐมฌานในเรือนว่าง ฯลฯ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่าน
ภิกษุรูปนั้นเข้าปฐมฌาน ฯลฯ ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานในเรือนว่างแล้ว
ฯลฯ ภิกษุรูปนั้นเข้าอยู่... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้เข้าแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้... ภิกษุรูป
นั้นเป็นผู้ชำนาญ...ภิกษุรูปนั้นทำจตุตถฌานให้แจ้งในเรือนว่างแล้ว” ต้องอาบัติทุกกฏ

บอกว่าภิกษุอื่นเข้าจตุตถฌานในเรือนว่าง
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ภิกษุรูปใดใช้สอยจีวรของท่าน
ภิกษุรูปใดฉันบิณฑบาตของท่าน ภิกษุรูปใดใช้สอยเสนาสนะของท่าน ภิกษุรูปใด
บริโภคคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร1ของท่าน ภิกษุรูปนั้นเข้าจตุตถฌานในเรือนว่าง
แล้ว... ภิกษุรูปนั้นเข้าอยู่... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้เข้าแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้... ภิกษุ
รูปนั้นเป็นผู้ชำนาญ... ภิกษุรูปนั้นทำจตุตถฌานให้แจ้งในเรือนว่างแล้ว” ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
[76] คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “วิหารของท่านภิกษุรูปใด
ใช้สอยแล้ว จีวรของท่านภิกษุรูปใดใช้สอยแล้ว บิณฑบาตของท่านภิกษุรูปใดฉันแล้ว
เสนาสนะของท่านภิกษุรูปใดใช้สอยแล้ว คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของท่านภิกษุรูปใด
บริโภคแล้ว ภิกษุรูปนั้นเข้าจตุตถฌานในเรือนว่างแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเข้าอยู่... ภิกษุ
รูปนั้นเป็นผู้เข้าแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ชำนาญ... ภิกษุรูปนั้น
ทำจตุตถฌานให้แจ้งในเรือนว่างแล้ว” ต้องอาบัติทุกกฏ

เชิงอรรถ :
1 คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร คือเภสัชทั้ง 5 ได้แก่ เนยใส เนยข้น นํ้ามัน นํ้าผึ้ง นํ้าอ้อย (วิ.อ. 2/290/40,
สารตฺถ. ฏีกา 2/290/393) เป็นสิ่งสัปปายะสำหรับภิกษุผู้เจ็บไข้ จัดว่าเป็นบริขาร คือบริวารของชีวิต
ดุจกำแพงล้อมพระนคร เพราะคอยป้องกันรักษาไม่ให้อาพาธที่จะบั่นรอนชีวิตได้ช่องเกิดขึ้น และเป็น
สัมภาระของชีวิต คอยประคับประคองชีวิตให้ดำรงอยู่นาน (วิ.อ. 2/290/40-41, ม.มู.อ. 1/191/397,
ม.มู ฏีกา 1/23/213)
เป็นเครื่องป้องกันโรค บำบัดโรคที่ให้เกิดทุกขเวทนา เนื่องจากธาตุกำเริบให้หายไป (สารตฺถ. ฏีกา 2/
290/393)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :267 }