เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 1.มุสาวาทวรรค 8.ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์
วัตตุกามวารกถา
ประสงค์จะบอกปฐมฌาน
[74] คำว่า บอก คือ ภิกษุประสงค์จะกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้า
เข้าปฐมฌานแล้ว” แต่กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ

ประสงค์จะบอกปฐมฌาน - จิตปลอดจากราคะ โทสะ และโมหะ
คำว่า บอก คือ ภิกษุประสงค์จะกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน
แล้ว” แต่กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเข้าตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน สุญญตวิโมกข์
อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ
สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ วิชชา 3 สติปัฏฐาน 4
สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8
โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผลแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าสละ
ราคะแล้ว ข้าพเจ้าสละโทสะแล้ว และข้าพเจ้าสละ คาย พ้น ละ สลัด เพิก ถอนโมหะ
ขึ้นแล้ว” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ

ประสงค์จะบอกทุติยฌาน - จิตปลอดจากโมหะ
คำว่า บอก คือ ภิกษุประสงค์จะกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติย
ฌานแล้ว” แต่กล่าวว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ

ประสงค์จะบอกทุติยฌาน
คำว่า บอก คือ ภิกษุต้องการจะกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติย
ฌานแล้ว” แต่กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
(มูลนัยท่านย่อไว้แล้ว)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :264 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 1.มุสาวาทวรรค 8.ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์
ประสงค์จะบอกว่าจิตปลอดจากโมหะ
คำว่า บอก คือ ภิกษุประสงค์จะกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “จิตของข้าพเจ้า
ปลอดจากโมหะ” แต่กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
คำว่า บอก คือ ภิกษุต้องการจะกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “จิตของข้าพเจ้า
ปลอดจากโมหะ” แต่กล่าวว่า “จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ

ประสงค์จะบอกปฐมฌาน ฯลฯ
คำว่า บอก คือ ภิกษุประสงค์จะกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน
ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานแล้ว ฯลฯ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ”
แต่กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อ
เขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ

ประสงค์จะบอกทุติยฌาน ฯลฯ
คำว่า บอก คือ ภิกษุประสงค์จะกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติย
ฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานแล้ว ฯลฯ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ” แต่กล่าวว่า
“ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อเขาไม่เข้าใจ
ต้องอาบัติทุกกฏ

บอกว่าภิกษุอื่นเข้าปฐมฌาน
[75] คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหาร
ของท่าน ภิกษุรูปนั้นเข้าปฐมฌานแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเข้าอยู่... ภิกษุรูปนั้นเป็น
ผู้เข้าแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้ปฐมฌาน... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ชำนาญ... ภิกษุรูปนั้น
ทำปฐมฌานให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติทุกกฏ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :265 }