เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 1.มุสาวาทวรรค 4.ปทโสธัมมสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[45] ก็ ภิกษุใดสอนอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมเป็นบท ๆ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[46] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน คือ ยกเว้นภิกษุและภิกษุณี นอกนั้นชื่อว่าอนุปสัมบัน
ที่ชื่อว่า เป็นบท ๆ ได้แก่ กล่าวเป็นบท กล่าวเป็นอนุบท กล่าวเป็นอนุอักขระ
กล่าวเป็นอนุพยัญชนะ
ที่ชื่อว่า กล่าวเป็นบท คือ ภิกษุกับอนุปสัมบันเริ่มสวดพร้อมกัน จบลง
พร้อมกัน
ที่ชื่อว่า กล่าวเป็นอนุบท คือ เริ่มสวดแยกกัน แต่จบลงพร้อมกัน
ที่ชื่อว่า กล่าวเป็นอนุอักขระ คือ เมื่อภิกษุสอนว่า “รูปํ อนิจฺจํ” แต่
อนุปสัมบันสวดพร้อมกันว่า1 “รู” แล้วหยุด
ที่ชื่อว่า กล่าวเป็นอนุพยัญชนะ คือ ภิกษุสอนให้ว่า “รูปํ อนิจฺจํ” แต่
อนุปสัมบันเปล่งเสียงรับพร้อมกัน1ว่า “เวทนา อนิจฺจา”
บท อนุบท อนุอักขระ อนุพยัญชนะ ทั้งหมดนี้ชื่อว่าธรรมเป็นบท ๆ
ที่ชื่อว่า ธรรม ได้แก่ พุทธภาษิต สาวกภาษิต ฤๅษีภาษิต เทวดาภาษิต ที่
ประกอบด้วยอรรถ ที่ประกอบด้วยธรรม

เชิงอรรถ :
1 คือเปล่งเสียงรับพร้อมกันกับภิกษุผู้สอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :234 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 1.มุสาวาทวรรค 4.ปทโสธัมมสิกขาบท อนาปัตติวาร
คำว่า สอนให้กล่าว คือ สอนให้กล่าวเป็นบท ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ
บท สอนให้กล่าวเป็นอักษร ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ อักษร

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[47] อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน สอนให้กล่าวธรรมเป็น
บท ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ สอนให้กล่าวธรรมเป็นบท ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน สอนให้กล่าวธรรมเป็นบท ๆ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน สอนให้กล่าวธรรมเป็นบท ๆ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ สอนให้กล่าวธรรมเป็นบท ๆ ต้องอาบัติทุกกฏ
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน สอนให้กล่าวธรรมเป็นบท ๆ ไม่ต้อง
อาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[48] 1. ภิกษุผู้เรียนพระพุทธพจนะที่อาจารย์สอนให้ว่าพระพุทธวจนะพร้อม
กันกับอนุปสัมบัน
2. ภิกษุผู้สาธยายพร้อมกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :235 }