เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 1.มุสาวาทวรรค 2.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อนุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “อนุปสัมบันพวกใดกันแน่เป็นคนจัณฑาล เป็นคนจักสาน
เป็นนายพราน เป็นช่างรถ เป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด ฯลฯ
“อนุปสัมบันพวกใดกันแน่เป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูต
เป็นธรรมกถึก” ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อนุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “พวกเราไม่ใช่คนจัณฑาล คนจักสาน นายพราน ช่างรถ
คน เทขยะ ฯลฯ
พวกเราไม่ใช่บัณฑิต คนฉลาด นักปราชญ์ พหูสูต ธรรมกถึก พวกเราไม่มี
ทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด

1. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดต่ำ
[32] อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำ
ให้อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำด้วย
(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดต่ำ คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นคนจัณฑาล กับอุปสัมบันผู้เป็น
คนจักสาน กับอุปสัมบันผู้เป็นนายพราน กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างรถ กับอุปสัมบัน
ผู้เป็นคนเทขยะว่า “ท่านเป็นคนจัณฑาล ท่านเป็นคนจักสาน ท่านเป็นนายพราน
ท่านเป็นช่างรถ ท่านเป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดสูงด้วย(คำบ่ง
ถึง)ชาติกำเนิดต่ำ คือ กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดกษัตริย์ ชาติกำเนิดพราหมณ์ว่า
“ท่านเป็นคนจัณฑาล ท่านเป็นคนจักสาน ท่านเป็นนายพราน ท่านเป็นช่างรถ ท่าน
เป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด

กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดสูง
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำด้วย(คำบ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :219 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 1.มุสาวาทวรรค 2.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
ถึง)ชาติกำเนิดสูง คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นจัณฑาล กับอุปสัมบันผู้เป็นคนจัก
สาน กับอุปสัมบันผู้เป็นนายพราน กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างรถ กับอุปสัมบันผู้เป็นคน
เทขยะว่า “ท่านเป็นกษัตริย์ ท่านเป็นพราหมณ์” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดสูงด้วย(คำบ่งถึง)
ชาติกำเนิดสูง คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นกษัตริย์ กับอุปสัมบันผู้เป็นพราหมณ์ว่า
“ท่านเป็นกษัตริย์ ท่านเป็นพราหมณ์” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด

2. กล่าวเสียดสีด้วยชื่อ
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อเลวด้วยชื่อที่เลว ฯลฯ
กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อดีด้วยชื่อที่เลว ฯลฯ กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อที่เลวด้วยชื่อที่ดี
ฯลฯ กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อดีด้วยชื่อที่ดี ฯลฯ

10. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นบัณฑิต กับอุปสัมบันผู้ฉลาด กับอุปสัมบันผู้เป็นนัก
ปราชญ์ กับอุปสัมบันผู้เป็นพหูสูต กับอุปสัมบันผู้เป็นธรรมกถึกว่า “ท่านเป็น
บัณฑิต ท่านเป็นคนฉลาด ท่านเป็นนักปราชญ์ ท่านเป็นพหูสูต ท่านเป็นธรรมกถึก
ท่านไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด

1. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดต่ำ
[33] อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำ
ให้อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มี
ภิกษุบางพวกเป็นคนจัณฑาล เป็นคนจักสาน เป็นนายพราน เป็นช่างรถ เป็นคน
เทขยะ” ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :220 }