เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 1.มุสาวาทวรรค 2.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
อุปสัมบันกล่าวเสียดสีอนุปสัมบัน1
1. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิด
[31] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อนุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอนุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดต่ำ
ฯลฯ กล่าวกับอนุปสัมบันชาติกำเนิดสูงด้วย(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดต่ำ ฯลฯ กล่าวกับ
อนุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดสูง ฯลฯ

10. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
กล่าวกับอนุปสัมบันผู้มีคุณสมบัติสูงด้วยคำด่าสุภาพ คือ กล่าวกับอนุปสัมบัน
ผู้เป็นบัณฑิต กับอนุปสัมบันผู้ฉลาด กับอนุปสัมบันผู้เป็นนักปราชญ์ กับอนุปสัมบัน
ผู้เป็นพหูสูต กับอนุปสัมบันผู้เป็นธรรมกถึกว่า “ท่านเป็นบัณฑิต ท่านเป็นคนฉลาด
ท่านเป็นนักปราชญ์ ท่านเป็นพหูสูต ท่านเป็นธรรมกถึก ท่านไม่มีทุคติ หวังได้แต่
สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด

1. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดต่ำ
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อนุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีอนุปสัมบันบางพวกเป็น คนจัณฑาล
เป็นคนจักสาน เป็นนายพราน เป็นช่างรถ เป็นคนเทขยะ ฯลฯ”

10. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
“ในพระธรรมวินัยนี้ มีอนุปสัมบันบางพวกเป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็น
นักปราชญ์ เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก พวกเขาไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น”
ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด

เชิงอรรถ :
1 อนุปสัมบันของภิกษุ คือผู้มิได้อุปสมบทเป็นภิกษุ ได้แก่ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี สิกขมานา
คฤหัสถ์ชาย-หญิง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :218 }