เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 1.มุสาวาทวรรค 2.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นโรคที่เลวด้วย(คำบ่งถึง)โรคที่ดี คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันผู้เป็นโรคเรื้อน กับอุปสัมบันผู้เป็นโรคฝี กับอุปสัมบันผู้เป็นโรคกลาก
กับอุปสัมบันผู้เป็นโรคมองคร่อ กับอุปสัมบันผู้เป็นโรคลมบ้าหมูว่า “ท่านเป็นโรค
เบาหวาน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นโรคที่ดีด้วย(คำบ่งถึง)โรคที่ดี คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันผู้เป็นโรคเบาหวานว่า “ท่านเป็นโรคเบาหวาน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุก ๆ คำพูด

7. กล่าวเสียดสีด้วยรูปลักษณ์ที่เลว
[22] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีรูปลักษณ์ที่เลวด้วย(คำบ่งถึง)รูปลักษณ์ที่เลว
คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้สูงเกินไป กับอุปสัมบันผู้เตี้ยเกินไป กับอุปสัมบันผู้ดำเกินไป
กับอุปสัมบันผู้ขาวเกินไปว่า “ท่านเป็นคนสูงเกินไป ท่านเป็นคนเตี้ยเกินไป ท่านเป็น
คนดำเกินไป ท่านเป็นคนขาวเกินไป” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีรูปลักษณ์ที่ดีด้วย(คำบ่งถึง)รูปลักษณ์ที่เลว คือ กล่าว
กับอุปสัมบันผู้ไม่สูงนัก กับอุปสัมบันผู้ไม่เตี้ยนัก กับอุปสัมบันผู้ไม่ดำนัก กับ
อุปสัมบันผู้ไม่ขาวนักว่า “ท่านเป็นคนสูงเกินไป ท่านเป็นคนเตี้ยเกินไป ท่านเป็นคน
ดำเกินไป ท่านเป็นคนขาวเกินไป” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

กล่าวเสียดสีด้วยรูปลักษณ์ที่ดี
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีรูปลักษณ์ที่เลวด้วย(คำบ่งถึง)รูปลักษณ์ที่ดี คือ กล่าว
กับอุปสัมบันผู้สูงเกินไป กับอุปสัมบันผู้เตี้ยเกินไป กับอุปสัมบันผู้ดำเกินไป กับ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :210 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 1.มุสาวาทวรรค 2.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
อุปสัมบันผู้ขาวเกินไปว่า “ท่านเป็นคนไม่สูงนัก ท่านเป็นคนไม่เตี้ยนักท่านเป็นคนไม่ดำนัก
ท่านเป็นคนไม่ขาวนัก” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีรูปลักษณ์ที่ดีด้วย(คำบ่งถึง)รูปลักษณ์ที่ดี คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันผู้ไม่สูงเกินไป กับอุปสัมบันผู้ไม่เตี้ยเกินไป กับอุปสัมบันผู้ไม่ดำเกินไป กับ
อุปสัมบันผู้ไม่ขาวเกินไปว่า “ท่านเป็นคนไม่สูงนัก ท่านเป็นคนไม่เตี้ยนัก ท่านเป็น
คนไม่ดำนัก ท่านเป็นคนไม่ขาวนัก” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

8. กล่าวเสียดสีด้วยกิเลส
[23] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีกิเลสที่เลวด้วย(คำบ่งถึง)กิเลสที่เลว คือ
กล่าวกับอุปสัมบันผู้ถูกราคะกลุ้มรุม กับอุปสัมบันผู้ถูกโทสะกลุ้มรุม กับอุปสัมบันผู้
ถูกโมหะกลุ้มรุมว่า “ท่านเป็นผู้ถูกราคะกลุ้มรุม ท่านเป็นผู้ถูกโทสะกลุ้มรุม ท่าน
เป็นผู้ถูกโมหะกลุ้มรุม” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีภาวะไร้กิเลสด้วย(คำบ่งถึง)กิเลสที่เลว คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันผู้ปราศจากราคะ กับอุปสัมบันผู้ปราศจากโทสะ กับอุปสัมบันผู้ปราศจาก
โมหะว่า “ท่านเป็นผู้ถูกราคะกลุ้มรุม ท่านเป็นผู้ถูกโทสะกลุ้มรุม ท่านเป็นผู้ถูกโมหะ
กลุ้มรุม” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีกิเลสที่เลวด้วย(คำบ่งถึง)ภาวะไร้กิเลส คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันผู้ถูกราคะกลุ้มรุม กับอุปสัมบันผู้ถูกโทสะกลุ้มรุม กับอุปสัมบันผู้ถูกโมหะ
กลุ้มรุมว่า “ท่านเป็นผู้ปราศจากราคะ ท่านเป็นผู้ปราศจากโทสะ ท่านเป็นผู้ปราศ
จากโมหะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีภาวะไร้กิเลสด้วย(คำบ่งถึง)ภาวะไร้กิเลส คือ กล่าว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :211 }