เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [4.นิสสัคคิยกัณฑ์] 1.จีรวรรค 3.ตติยกฐินสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
มีไม่พอ เมื่อมีความหวังว่าจะได้ผ้ามาเพิ่ม ภิกษุนั้นพึงเก็บผ้าสำหรับทำจีวรนั้น
ไว้ไม่เกิน 1 เดือน เพื่อเพิ่มผ้าสำหรับทำจีวรที่ยังขาดให้ครบ ถ้าเก็บเกินกำหนด
นั้น แม้มีความหวังว่าจะได้ผ้ามาเพิ่ม ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุรับอกาลจีวร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[500] คำว่า เมื่อจีวร...สำเร็จแล้ว หมายความว่า จีวรของภิกษุทำเสร็จ
แล้ว สูญหายแล้ว ฉิบหายแล้ว ถูกไฟไหม้เสียแล้ว หรือภิกษุหมดหวังว่าจะได้ผ้ามา
เย็บเป็นจีวร
คำว่า เมื่อกฐินเดาะแล้ว หมายความว่า กฐินเดาะด้วยมาติกาอย่างใดอย่าง
หนึ่งในมาติกา 8 หรือสงฆ์เดาะกฐินในระหว่าง
ที่ชื่อว่า อกาลจีวร ได้แก่ ผ้าที่เกิดขึ้นตลอด 11 เดือน ในเมื่อไม่ได้กรานกฐิน
ผ้าที่เกิดขึ้นตลอด 7 เดือน ในเมื่อได้กรานกฐินแล้ว แม้ผ้าที่เขาถวายเจาะจงในกาล
นี้ชื่อว่า อกาลจีวร1
คำว่า เกิดขึ้น คือ เกิดจากสงฆ์ จากคณะ จากญาติ จากมิตร หรือที่เป็นผ้า
บังสุกุล หรือที่ได้มาด้วยทรัพย์ของตน
คำว่า ต้องการ คือ เมื่อต้องการก็รับไว้
คำว่า ครั้นรับแล้วพึงรีบให้ทำ คือ พึงให้ทำเสร็จภายใน 10 วัน
คำว่า ถ้าผ้านั้นมีไม่พอ คือ ผ้าไม่เพียงพอที่จะทำเป็นไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่ง
คำว่า ภิกษุนั้นพึงเก็บผ้าสำหรับทำจีวรนั้นไว้ไม่เกิน 1 เดือน คือ เก็บไว้ได้
1 เดือนเป็นอย่างมาก

เชิงอรรถ :
1 คือ (1) ตั้งแต่ แรม 1 ค่ำ เดือน 12 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของปีถัดไปสำหรับผู้ไม่ได้กรานกฐิน
รวมเป็น 11 เดือน (2) ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 4 ถึง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ในปีเดียวกัน สำหรับผู้ได้
กรานกฐิน รวมเป็น 7 เดือน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :21 }