เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 1.มุสาวาทวรรค 2.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
อุปสัมบันกล่าวเสียดสีอุปสัมบัน
1. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดต่ำ
[16] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดต่ำ คือ
กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นคนจัณฑาล กับอุปสัมบันผู้เป็นคนจักสาน กับอุปสัมบันผู้
เป็นนายพราน กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างรถ กับอุปสัมบันผู้เป็นคนเทขยะว่า “ท่าน
เป็นคนจัณฑาล ท่านเป็นคนจักสาน ท่านเป็นนายพราน ท่านเป็นช่างรถ ท่าน
เป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดสูงด้วย(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดต่ำ คือ กล่าว
กับอุปสัมบันผู้เป็นกษัตริย์ กับอุปสัมบันผู้เป็นพราหมณ์ว่า “ท่านเป็นคนจัณฑาล
ท่านเป็นคนจักสาน ท่านเป็นนายพราน ท่านเป็นช่างรถ ท่านเป็นคนเทขยะ” ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดสูง
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดสูง คือ กล่าว
กับอุปสัมบันผู้เป็นจัณฑาล กับอุปสัมบันผู้เป็นคนจักสาน กับอุปสัมบันผู้เป็น
นายพราน กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างรถ กับอุปสัมบันผู้เป็นคนเทขยะว่า “ท่านกษัตริย์
ท่านพราหมณ์” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดสูงด้วย(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดสูง คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันผู้เป็นกษัตริย์ กับอุปสัมบันผู้เป็นพราหมณ์ว่า “ท่านกษัตริย์ ท่าน
พราหมณ์” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :205 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 1.มุสาวาทวรรค 2.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
2. กล่าวเสียดสีด้วยชื่อที่เลว
[17] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อเลวด้วยชื่อที่เลว คือ กล่าวกับอุปสัมบัน
ชื่ออวกัณณกะ กับอุปสัมบันชื่อชวกัณณกะ กับอุปสัมบันชื่อธนิฏฐกะ กับอุปสัมบัน
ชื่อสวิฏฐกะ กับอุปสัมบันชื่อกุลวัฑฒกะว่า “ท่านอวกัณณกะ ท่านชวกัณณกะ
ท่านธนิฏฐกะ ท่านสวิฏฐกะ ท่านกุลวัฑฒกะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อที่ดีด้วยชื่อที่เลว คือ กล่าวกับอุปสัมบันชื่อพุทธรักขิต
กับอุปสัมบันชื่อธัมมรักขิต กับอุปสัมบันชื่อสังฆรักขิตว่า “ท่านอวกัณณกะ ท่าน
ชวกัณณกะ ท่านธนิฏฐกะ ท่านสวิฏฐกะ ท่านกุลวัฑฒกะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุก ๆ คำพูด

กล่าวเสียดสีด้วยชื่อที่ดี
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อที่เลวด้วยชื่อที่ดี คือ กล่าวกับอุปสัมบันชื่ออวกัณณกะ
กับอุปสัมบันชื่อชวกัณณกะ กับอุปสัมบันชื่อธนิฏฐกะ กับอุปสัมบันชื่อสวิฏฐกะ
กับอุปสัมบันชื่อกุลวัฑฒกะว่า “ท่านพุทธรักขิต ท่านธัมมรักขิต ท่านสังฆรักขิต”
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อที่ดีด้วยชื่อที่ดี คือ กล่าวกับอุปสัมบันชื่อพุทธรักขิต
กับอุปสัมบันชื่อธัมมรักขิต กับอุปสัมบันชื่อสังฆรักขิตว่า “ท่านพุทธรักขิต ท่าน
ธัมมรักขิต ท่านสังฆรักขิต” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

3. กล่าวเสียดสีด้วยตระกูลชั้นต่ำ
[18] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีตระกูลชั้นต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ตระกูลชั้นต่ำ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :206 }