เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 1.มุสาวาทวรรค 2.โอมสวาทสิกขาบท พระบัญญัติ
โคถึกนันทิวิสาลกล่าวว่า “ท่านพราหมณ์ ท่านเรียกข้าพเจ้าผู้ไม่โกงด้วยคำว่า
โกงทำไมเล่า ท่านจงไปทำการพนันเอาทรัพย์ 2,000 กหาปณะกับเศรษฐีด้วย
กล่าวว่า ‘โคถึกของเราจะลากเกวียน 100 เล่มที่ผูกติดกันไปได้’ แต่ท่านอย่าเรียก
ข้าพเจ้าผู้ไม่โกงด้วยคำว่าโกง”
พราหมณ์จึงไปพนันเอาทรัพย์ 2,000 กหาปณะกับเศรษฐีด้วยกล่าวว่า
“โคถึกของเราจะลากเกวียน 100 เล่มที่ผูกติดกันไปได้” ภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้ว
พราหมณ์นั้นก็ผูกเกวียน 100 เล่ม เทียมโคนันทิวิสาลแล้ว จึงได้กล่าวดังนี้ว่า
“พ่อมหาจำเริญ เชิญฉุดไป พ่อมหาจำเริญ เชิญลากไปเถิด” ครั้งนั้นแล โคถึก
นันทิวิสาลได้ลากเกวียน 100 เล่มที่ผูกติดกันไปแล้ว
บุคคลพึงกล่าวคำไพเราะ
ไม่พึงกล่าวคำไม่ไพเราะ ไม่ว่าในกาลไหน ๆ
เมื่อพราหมณ์กล่าวคำไพเราะ
โคถึกโคนันทิวิสาลก็ลากเกวียนหนักไปได้
ทำให้พราหมณ์ได้ทรัพย์
ตนเองก็ดีใจที่พราหมณ์ได้ทรัพย์
เพราะการกระทำของตนนั้น1
ภิกษุทั้งหลาย คำด่า คำสบประมาทไม่เป็นที่พอใจของเราแม้ในกาลนั้น
ไฉนบัดนี้ คำด่า คำสบประมาทจะเป็นที่พอใจเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท
นี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[14] ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวเสียดสี
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เชิงอรรถ :
1 ขุ.ชา. 27/28/7

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :201 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 1.มุสาวาทวรรค 2.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
สิกขาบทวิภังค์
[15] ที่ชื่อว่า กล่าวเสียดสี ได้แก่ ภิกษุกล่าวเสียดสีด้วยอาการ 10 อย่าง
คือ (1) ชาติกำเนิดบ้าง (2) ชื่อบ้าง (3) ตระกูลบ้าง (4) หน้าที่การงานบ้าง
(5) ศิลปวิทยาบ้าง (6) ความเจ็บไข้บ้าง (7) รูปลักษณ์บ้าง (8) กิเลสบ้าง
(9) อาบัติบ้าง (10) คำด่าบ้าง

บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ชาติกำเนิด ได้แก่ ชาติกำเนิด 2 อย่าง คือ (1) ชาติกำเนิดต่ำ
(2) ชาติกำเนิดสูง
ที่ชื่อว่า ชาติกำเนิดต่ำ ได้แก่ ชาติกำเนิดคนจัณฑาล ชาติกำเนิดคนจักสาน
ชาติกำเนิดนายพราน ชาติกำเนิดช่างรถ ชาติกำเนิดคนเทขยะ1 นี้จัดเป็นชาติกำเนิด
ต่ำ
ที่ชื่อว่า ชาติกำเนิดสูง ได้แก่ ชาติกำเนิดกษัตริย์ ชาติกำเนิดพราหมณ์ นี้
จัดเป็นชาติกำเนิดสูง
ที่ชื่อว่า ชื่อ ได้แก่ ชื่อ 2 อย่าง คือ (1) ชื่อที่เลว (2) ชื่อที่ดี
ที่ชื่อว่า ชื่อที่เลว ได้แก่ ชื่ออวกัณณกะ ชื่อชวกัณณกะ ชื่อธนิฏฐกะ
ชื่อสวิฏฐกะ ชื่อกุลวัฑฒกะ2 อีกอย่างหนึ่ง ชื่อที่เขาเย้ยหยัน เหยียดหยาม
เกลียดชัง ดูหมิ่น ไม่นับถือกันในท้องถิ่นนั้น ๆ นี้จัดเป็นชื่อที่เลว

เชิงอรรถ :
1 ปุกฺกุส คนเทขยะ ในโยชนาว่า “คนเทอุจจาระ” (ปุ วุจฺจติ กรีสํ, ตํ กุสติ อปเนตีติ ปุกฺกุโส, ปุปฺผํ
วุจฺจติ กรีสํ, กุสุมํ วา, ตํ ฉฑฺเฑตีติ ปุปฺผฉฑฺฑโก อุจจาระท่านเรียกว่า “ปุ” ผู้ที่นำปุ คืออุจจาระนั้นไปทิ้ง
ชื่อว่า ปุกกุสะ อุจจาระท่านเรียกว่า ปุปผะ(ดอกไม้) ผู้ที่ขนดอกไม้คืออุจจาระนั้นทิ้ง ชื่อว่า ปุปผฉัฑฑกะ
(ปาจิตฺยาทิโยนา 4 ม.)
ในที่นี้ ปุกกุสศัพท์เป็นไวพจน์ของปุปผฉัฑฑกศัพท์ (ปุกฺกุสชาตีติ ปุปฺผฉฑฺฑกชาติ - วิ.อ. 2/15/257)
จะแปลว่า “คนเทอุจจาระ” ก็ได้
2 ชื่อทั้ง 5 นี้ คือ (1) อวกัณณกะ (2) ชวกัณณกะ (3) ธนิฏฐกะ (4) สวิฏฐกะ (5) กุลวัฑฒกะ เป็นชื่อ
ของพวกทาสถือเป็นชื่อชั้นต่ำ เป็นชื่อที่เลว (วิ.อ. 2/15/257)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :202 }