เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 1.มุสาวาทวรรค 1.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
สิกขาบทวิภังค์
[3] ที่ชื่อว่า กล่าวเท็จทั้งที่รู้ ได้แก่ วาจา เสียงที่เปล่งออก คำเป็นทาง
วจีเภท เจตนาที่ให้รู้ทางวาจาของผู้มุ่งจะกล่าวให้คลาดความจริง ได้แก่ ถ้อยคำ
ของอนารยชน 8 อย่าง คือ

1. ไม่ได้เห็น แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้เห็น
2. ไม่ได้ยิน แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ยิน
3. ไม่ทราบ แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าทราบ
4. ไม่รู้ แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้ารู้
5. ได้เห็น แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ได้เห็น
6. ได้ยิน แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ยิน
7. ทราบ แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ทราบ
8. รู้ แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่รู้

บทภาชนีย์
1. ที่ชื่อว่า ไม่ได้เห็น คือ ไม่ได้เห็นด้วยตา
2. ที่ชื่อว่า ไม่ได้ยิน คือ ไม่ได้ยินด้วยหู
3. ที่ชื่อว่า ไม่ทราบ คือ ไม่ได้สูดดมด้วยจมูก ไม่ได้ลิ้มด้วยลิ้น ไม่ได้
สัมผัสด้วยกาย
4. ที่ชื่อว่า ไม่รู้ คือ ไม่รู้ด้วยใจ
5. ที่ชื่อว่า ได้เห็น คือ ได้เห็นด้วยตา
6. ที่ชื่อว่า ได้ยิน คือ ได้ยินด้วยหู
7. ที่ชื่อว่า ทราบ คือ ได้สูดดมด้วยจมูก ได้ลิ้มด้วยลิ้น ได้สัมผัสด้วยกาย
8. ที่ชื่อว่า รู้ คือ รู้ด้วยใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :187 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 1.มุสาวาทวรรค 1.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
อาการกล่าวเท็จทั้งที่รู้
1. ไม่ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้เห็น
[4] ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ 3
อย่าง คือ (1) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (2) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(3) ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ 4 อย่าง
คือ (1) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (2) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (3) ครั้น
กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (4) อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ 5 อย่าง
คือ (1) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (2) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (3) ครั้น
กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (4) อำพรางความเห็น (5) อำพรางความเห็นชอบ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ 6 อย่าง
คือ (1) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (2) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (3)
ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (4) อำพรางความเห็น (5) อำพรางความ
เห็นชอบ (6) อำพรางความพอใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ 7 อย่าง
คือ (1) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (2) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (3)
ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (4) อำพรางความเห็น (5) อำพรางความเห็น
ชอบ (6) อำพรางความพอใจ (7) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

2. ไม่ได้ยิน แต่กล่าวว่าได้ยิน
[5] ไม่ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ
3 อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :188 }