เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 1.มุสาวาทวรรค 1.มุสาวาทสิกขาบท นิทานวัตถุ
5. ปาจิตติยกัณฑ์
ท่านทั้งหลาย ธรรมคือปาจิตตีย์ 92 สิกขาบทเหล่านี้ มาถึงวาระที่จะยกขึ้น
แสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับ

1. มุสาวาทวรรค
หมวดว่าด้วยการกล่าวเท็จ

1. มุสาวาทสิกขาบท
ว่าด้วยการกล่าวเท็จ

เรื่องพระหัตถกศากยบุตร
[1] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระหัตถกศากยบุตรเป็นนักโต้
วาทะ1 เมื่อท่านเจรจากับพวกเดียรถีย์ ปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องหนึ่ง
มากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้ นัดหมายแล้วทำให้คลาดเคลื่อน
พวกเดียรถีย์จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระหัตถกศากยบุตร
เมื่อเจรจากับพวกเรา จึงปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องหนึ่งมากล่าวกลบ
เกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้ นัดหมายแล้วทำให้คลาดเคลื่อนเล่า”
พวกภิกษุได้ยินพวกเดียรถีย์ตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงเข้าไปหาพระ
หัตถกศากยบุตรถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับพระหัตถกศากยบุตรดังนี้ว่า “ท่าน

เชิงอรรถ :
1 วาทกฺขิตฺต ที่แปลว่า “เป็นนักโต้วาทะ” นั้น ตามอธิบายแห่งอรรถกถาว่า “วาทํ กริสฺสามี”ติ เอวํ
ปริวิตกฺกิเตน วาเทน ปรวาทีสนฺติกํ ขิตฺโต ปกฺขิตฺโต, ปหิโต เปสิโตติ อตฺโถ วาทมฺหิ วา สเกน จิตฺเตน
ขิตฺโต, ยตฺร ยตฺร วาโท ตตฺร ตตฺเรว สนฺทิสฺสตีติปิ วาทกฺขิตฺโต ถูกวาทะที่กำหนดไว้ว่า เราจักโต้วาทะ
เหวี่ยงไป ไสไป ส่งไปยังสำนักปรวาที อีกประการหนึ่ง คือถูกจิตของตนส่งไปในสถานที่โต้วาทะ คือในที่ใดๆ
มีการโต้วาทะกัน ย่อมไปปรากฏตัวในที่นั้นๆ (วิ.อ. 2/1/253)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :185 }