เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [4.นิสสัคคิยกัณฑ์] 3.ปัตตวรรค 5.จีวรอัจฉินทนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
โกรธ ไม่พอใจ ชิงเอาคืนมา จริงหรือ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอให้
จีวรภิกษุเองแล้วโกรธ ไม่พอใจ ชิงเอาคืนมาเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้
ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[632] ก็ ภิกษุใดให้จีวรแก่ภิกษุเองแล้วโกรธ ไม่พอใจ ชิงเอามาหรือใช้
ให้ชิงเอามา ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[633] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า แก่ภิกษุ คือ แก่ภิกษุรูปอื่น
คำว่า เอง คือ ให้ด้วยตนเอง
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร 6 ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีขนาดพอที่จะวิกัป
ได้เป็นอย่างต่ำ
คำว่า โกรธ ไม่พอใจ คือ ไม่ชอบใจ แค้นใจ เจ็บใจ
คำว่า ชิงเอามา คือ ยื้อแย่งเอามาด้วยตนเอง จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์
คำว่า ใช้ให้ชิงเอามา คือ สั่งผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุผู้รับคำสั่งครั้งเดียวแต่ชิงเอามาหลายครั้ง จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็น
ของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :153 }