เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [4.นิสสัคคิยกัณฑ์] 3.ปัตตวรรค 3.เภสัชชสิกขาบท นิทานวัตถุ
ได้มาเพราะทำโจรกรรมเป็นแน่แท้” ทีนั้นท่านพระปิลินทวัจฉะได้อธิษฐานให้
ปราสาทของพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐเป็นทองคำ ปราสาทกลายเป็นทองคำไ
ปทั้งหลัง แล้วท่านก็ถวายพระพรว่า “ทองคำมากมาย มหาบพิตรได้มาจากไหน”
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐตรัสว่า “โยมทราบแล้ว นี่เป็นฤทธานุภาพของพระ
คุณเจ้า” แล้วรับสั่งให้ปล่อยครอบครัวนั้น พวกชาวบ้านทราบข่าวว่า “พระคุณเจ้า
ปิลินทวัจฉะแสดงอิทธิปาฏิหาริย์อันเป็นอุตตริมนุสสธรรมในท่ามกลางราชบริษัท”
พากันพอใจเลื่อมใสนำเภสัช 5 คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยมาถวาย
ตามปกติท่านพระปิลินทวัจฉะก็ได้เภสัช 5 อยู่เสมอ ท่านจึงแบ่งเภสัชให้บริษัทของ
ท่าน แต่บริษัทของท่านมักมาก บรรจุเภสัชที่ได้มาแล้ว ๆ ไว้ในตุ่มบ้าง ในหม้อน้ำบ้าง
จนเต็มแล้วเก็บไว้บรรจุลงในหม้อกรองน้ำบ้าง ในถุงย่ามบ้าง แล้วแขวนไว้ที่หน้าต่าง
เภสัชเหล่านั้นไหลเยิ้มซึม จึงมีสัตว์จำพวกหนู ชุกชุมทั่ววิหาร พวกชาวบ้านเที่ยวไป
วิหารพบเข้าจึงพากันตำหนิประณาม โพนทะนาว่า “พวกพระสมณะเชื้อสายศากย
บุตรเหล่านี้มีเรือนคลังเก็บของเหมือนพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ” พวกภิกษุ
ได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงคิดเพื่อความมักมากเช่นนี้เล่า”
ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวกภิกษุคิดเพื่อความมักมาก
จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงคิดเพื่อความมักมาก
เล่า การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใส
อยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :142 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [4.นิสสัคคิยกัณฑ์] 3.ปัตตวรรค 3.เภสัชชสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[622] ก็ เภสัชใดควรลิ้มสำหรับภิกษุผู้เป็นไข้ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน
น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ภิกษุรับประเคนเภสัชนั้นแล้วเก็บไว้ฉันได้ 7 วันเป็นอย่างมาก
ให้เกินกำหนดนั้นไป ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระปิลินทวัจฉะ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[623] คำว่า เภสัชใดควรลิ้มสำหรับภิกษุผู้เป็นไข้ มีอธิบายดังนี้
ที่ชื่อว่า เนยใส ได้แก่ เนยใสทำจากน้ำนมโคบ้าง เนยใสทำจากน้ำนมแพะบ้าง
เนยใสทำจากน้ำนมกระบือบ้าง หรือเนยใสทำจากน้ำนมสัตว์ที่มีมังสะเป็นกัปปิยะ
ที่ชื่อว่า เนยข้น ได้แก่ เนยข้นทำจากน้ำนมสัตว์เหล่านั้นแหละ
ที่ชื่อว่า น้ำมัน ได้แก่ น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดงา น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดผักกาด
น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดมะซาง น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดละหุ่ง หรือน้ำมันไขสัตว์
ที่ชื่อว่า น้ำผึ้ง ได้แก่ น้ำรสหวานที่แมลงผึ้งทำ
ที่ชื่อว่า น้ำอ้อย ได้แก่ น้ำรสหวานที่เกิดจากอ้อย
คำว่า ภิกษุรับประเคนเภสัชนั้นแล้วเก็บไว้ฉันได้ 7 วันเป็นอย่างมาก คือ
ภิกษุพึงฉันได้ 7 วันเป็นอย่างมาก
คำว่า ให้เกินกำหนดนั้นไป ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ความว่า เมื่อรุ่ง
อรุณวันที่ 8 เภสัชนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่
บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละเภสัชที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :143 }