เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [4.นิสสัคคิยกัณฑ์] 3.ปัตตวรรค 2.อูนปัญจพันธนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์
[613] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
บาตรที่ชื่อว่า มีรอยซ่อมหย่อนกว่า 5 แห่ง คือ บาตรไม่มีรอยซ่อม หรือ
มีรอยซ่อมเพียง 1 แห่ง มีรอยซ่อมเพียง 2 แห่ง มีรอยซ่อมเพียง 3 แห่ง มีรอย
ซ่อมเพียง 4 แห่ง
บาตรที่ชื่อว่า ไม่มีรอยซ่อม ได้แก่ บาตรไม่มีรอยร้าวถึง 2 นิ้ว
บาตรที่ชื่อว่า มีรอยซ่อม ได้แก่ บาตรมีรอยร้าวยาว 2 นิ้ว
บาตรที่ชื่อว่า ใหม่ พระผู้มีพระภาคตรัสมุ่งเอาการออกปากขอมา
คำว่า ขอ คือ ออกปากขอ ต้องอาบัติทุกกฏเพราะพยายาม บาตรเป็น
นิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละในท่ามกลางสงฆ์
ภิกษุทุกรูปพึงถือบาตรที่อธิษฐานไปประชุม ไม่ควรอธิษฐานบาตรคุณภาพไม่ดี
ด้วยคิดว่า “เราจะเอาบาตรมีค่ามาก” ถ้าอธิษฐานบาตรคุณภาพไม่ดีด้วยคิดว่า “เรา
จะเอาบาตรมีค่ามาก” ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละบาตรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละบาตรที่เป็นนิสสัคคีย์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมมีบาตรมี
รอยซ่อมหย่อนกว่า 5 แห่ง ขอบาตรใบนี้มา เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละบาตรใบนี้
แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ สงฆ์พึงแต่งตั้งภิกษุผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติ
5 อย่างให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :131 }