เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [4.นิสสัคคิยกัณฑ์] 3.ปัตตวรรค 2.อูนปัญจพันธนสิกขาบท นิทานวัตถุ
3. ปัตตวรรค

2. อูนปัญจพันธนสิกขาบท
ว่าด้วยบาตรมีรอยซ่อมหย่อนกว่า 5 แห่ง

เรื่องภิกษุหลายรูป
[609] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขต
กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น นายช่างหม้อคนหนึ่งปวารณาภิกษุทั้งหลายไว้ว่า
“กระผมจะถวายบาตรแก่พระคุณเจ้าผู้ต้องการบาตร”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่รู้ประมาณ ออกปากขอบาตรเป็นอันมาก พวกภิกษุ
ผู้มีบาตรขนาดเล็กก็ออกปากขอบาตรขนาดใหญ่ พวกภิกษุผู้มีบาตรขนาดใหญ่ก็
ออกปากขอบาตรขนาดเล็ก นายช่างมัวทำบาตรเป็นอันมากให้ภิกษุทั้งหลาย จนไม่
สามารถทำการค้าขายอย่างอื่น ตนเองก็หาเลี้ยงชีพไม่พอ ทั้งบุตรภรรยาก็พลอย
ลำบากไปด้วย พวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อ
สายศากยบุตรจึงไม่รู้ประมาณ ออกปากขอบาตรเป็นอันมากเล่า นายช่างมัวทำ
บาตรเป็นอันมากให้ภิกษุทั้งหลายจนไม่สามารถทำการค้าขายอย่างอื่น ตนเองก็หา
เลี้ยงชีพไม่พอ ทั้งบุตรภรรยาก็พลอยลำบากไปด้วย”
พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงไม่รู้ประมาณ
ออกปากขอบาตรเป็นอันมากเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดย
ประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงห้ามขอบาตร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุไม่รู้ประมาณ ออกปากขอ
บาตรเป็นอันมาก จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :128 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [4.นิสสัคคิยกัณฑ์] 3.ปัตตวรรค 2.อูนปัญจพันธนสิกขาบท นิทานวัตถุ
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงไม่รู้
ประมาณ ออกปากขอบาตรเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยัง
ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
ครั้นตำหนิแล้วจึงทรงแสดงธรรมีกถาแล้วตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงออกปากขอบาตร รูปใดขอ ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

ทรงอนุญาตให้ขอบาตรได้
[610] สมัยนั้น บาตรของภิกษุรูปหนึ่งแตก เธอมีความยำเกรงว่า “พระผู้มี
พระภาคทรงห้ามการออกปากขอบาตร” จึงไม่ออกปากขอบาตร เที่ยวรับบิณฑบาต
ด้วยมือทั้งสอง พวกชาวบ้านจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะ
เชื้อสายศากยบุตรจึงเที่ยวรับบิณฑบาตด้วยมือทั้งสองเหมือนพวกเดียรถีย์เล่า”
พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มีบาตรหายหรือบาตรแตก
ออกปากขอบาตรได้”

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[611] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทราบว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาต
ให้ภิกษุผู้มีบาตรหายหรือบาตรแตกออกปากขอบาตรได้” พวกเธอมีบาตรแตกเพียง
เล็กน้อยบ้าง บาตรกะเทาะเพียงเล็กน้อยบ้าง บาตรมีรอยขูดขีดเพียงเล็กน้อยบ้าง
ออกปากขอบาตรมาเป็นอันมาก
สมัยนั้น นายช่างหม้อมัวทำบาตรเป็นอันมากให้ภิกษุทั้งหลายอยู่อย่างนั้น จน
ไม่สามารถค้าขายอย่างอื่น ตนเองก็หาเลี้ยงชีพไม่พอ ทั้งบุตรภรรยาก็พลอยลำบาก
ไปด้วย พวกชาวบ้านจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรจึงไม่รู้ประมาณ ออกปากขอบาตรเป็นอันมากเล่า นายช่างหม้อมัวทำ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :129 }