เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [4.นิสสัคคิยกัณฑ์] 1.จีรวรรค 2.อุทโทสิตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สามารถนำไตรจีวรไปได้ กระผมขอให้สงฆ์สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร
พึงกล่าวขออย่างนี้เป็นครั้งที่ 2 พึงกล่าวขออย่างนี้เป็นครั้งที่ 3
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[474] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เป็นไข้ ไม่สามารถนำไตร
จีวรไปได้เธอขอให้สงฆ์สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรถ้าสงฆ์พร้อมกัน
แล้วพึงให้สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรแก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เป็นไข้ไม่สามารถนำไตรจีวรไปได้
เธอขอให้สงฆ์สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร สงฆ์ให้สมมติเพื่อไม่เป็น
การอยู่ปราศจากไตรจีวรแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้สมมติเพื่อไม่
เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย
ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
การสมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร สงฆ์ให้แก่ภิกษุชื่อนี้แล้ว สงฆ์
เห็นชอบ เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้” แล้วจึงรับสั่ง
ให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[475] เมื่อจีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว เมื่อกฐินเดาะแล้ว ถ้าภิกษุอยู่
ปราศจากไตรจีวรแม้สิ้นราตรีหนึ่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นแต่ภิกษุ
ได้รับสมมติ

สิกขาบทวิภังค์
[476] คำว่า เมื่อจีวร...สำเร็จแล้ว หมายความว่า จีวรของภิกษุทำเสร็จ
แล้ว สูญหายแล้ว ฉิบหายแล้ว ถูกไฟไหม้แล้ว หรือภิกษุหมดหวังว่าจะได้ผ้ามา
เย็บเป็นจีวร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :11 }