เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 2 บทภาชนีย์

นั้นในเวลาที่ท่านสามารถจะลักได้” ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งลักทรัพย์นั้นมา
ได้ ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง 2 รูป
ภิกษุสั่งภิกษุว่า “จงลักทรัพย์นี้มา” ต้องอาบัติทุกกฏ เธอสั่งแล้วเกิดความ
เดือดร้อนใจ แต่ไม่ได้กล่าวให้ผู้รับคำสั่งได้ยินว่า “อย่าลัก” ภิกษุผู้รับคำสั่งลักทรัพย์
นั้นมาได้ ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง 2 รูป
ภิกษุสั่งภิกษุว่า “จงลักทรัพย์นี้มา” ต้องอาบัติทุกกฏ เธอสั่งแล้วเกิดความ
เดือดร้อนใจ จึงกล่าวให้ได้ยินว่า “อย่าลัก” แต่ภิกษุผู้รับคำสั่งกล่าวว่า “ท่านสั่ง
ผมแล้ว” ลักทรัพย์นั้นมาได้ ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลัก ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุสั่งภิกษุว่า “จงลักทรัพย์นี้มา” ต้องอาบัติทุกกฏ เธอสั่งแล้วเกิดความ
เดือดร้อนใจ จึงกล่าวให้ผู้รับคำสั่งได้ยินว่า “อย่าลัก” ภิกษุผู้รับคำสั่งนั้นรับว่า “ดีละ”
จึงงดเว้น ไม่ต้องอาบัติทั้ง 2 รูป

องค์แห่งปาราชิกสิกขาบทที่ 2

[122] ภิกษุผู้ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ ต้องอาบัติปาราชิก ด้วยอาการ 5
อย่าง คือ
1. ทรัพย์มีผู้ครอบครอง
2. สำคัญว่าเป็นทรัพย์ที่มีผู้ครอบครอง
3. ทรัพย์มีค่ามาก ราคา 5 มาสก หรือเกินกว่า 5 มาสก
4. มีไถยจิตปรากฏ
5. ภิกษุจับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้
เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
[123] ภิกษุผู้ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ด้วยอาการ 5
อย่าง คือ
1. ทรัพย์มีผู้ครอบครอง
2. สำคัญว่าเป็นทรัพย์ที่มีผู้ครอบครอง
3. ทรัพย์มีค่าน้อย ราคาเกิน 1 มาสก หรือน้อยกว่า 5 มาสก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :95 }