เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 2 บทภาชนีย์

ภิกษุสั่งภิกษุว่า “ท่านจงลักทรัพย์นี้มา” ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่ง
สำคัญทรัพย์นั้นว่าเป็นทรัพย์นั้น ลักทรัพย์อื่นมา ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลัก
ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุสั่งภิกษุว่า “ท่านจงลักทรัพย์นี้มา” ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่ง
สำคัญทรัพย์นั้นว่าเป็นทรัพย์อื่น แต่ลักทรัพย์นั้นมาได้ ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง 2 รูป
ภิกษุสั่งภิกษุว่า “ท่านจงลักทรัพย์นี้มา” ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่ง
สำคัญทรัพย์นั้นว่าเป็นทรัพย์อื่น ลักทรัพย์อื่นมาได้ ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้
ลักต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุ (ผู้เป็นอาจารย์) สั่งภิกษุ (ชื่อว่าพุทธรักขิต) ว่า “ท่านจงบอกภิกษุ
ชื่อ(ธัมมรักขิต)นี้ว่า จงบอกภิกษุชื่อ(สังฆรักขิต)นี้ว่า ‘จงลักทรัพย์นี้มา” ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งไปบอกภิกษุอีกรูปหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ1 ภิกษุผู้ลักรับคำสั่ง
ภิกษุผู้สั่งครั้งแรกต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุผู้ลัก ลักทรัพย์นั้นมาได้ ต้องอาบัติ
ปาราชิกทุกรูป
ภิกษุ (ผู้เป็นอาจารย์) สั่งภิกษุ (ชื่อว่าพุทธรักขิต) ว่า “ท่านจงบอกภิกษุ
ชื่อ(ธัมมรักขิต)นี้ว่า จงบอกภิกษุชื่อ(สังฆรักขิต)นี้ว่า ‘จงลักทรัพย์นี้มา” ดังนี้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งไปบอกภิกษุรูปอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลักรับคำสั่ง
ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลัก ลักทรัพย์นั้นมาได้ ภิกษุผู้สั่งครั้งแรก ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุผู้สั่งต่อและภิกษุผู้ลัก ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุสั่งภิกษุว่า “จงลักทรัพย์นี้มา” ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งไปแล้ว
กลับมาบอกว่า “กระผมไม่สามารถลักทรัพย์นั้นได้” ผู้สั่งจึงสั่งอีกว่า “จงลักทรัพย์

เชิงอรรถ :
1 พระอรรถกถาจารย์ยกตัวอย่างไว้ชัดเจนว่า ในกรณีนี้มีภิกษุเกี่ยวข้องอยู่ 4 รูป คือ อาจารย์ 1 รูป
ภิกษุผู้เป็นศิษย์อีก 3 รูป คือ พุทธรักขิต ธัมมรักขิต และสังฆรักขิต กรณีนี้มี 3 ขั้นตอน คือ
1. ขั้นออกคำสั่ง ทั้งอาจารย์และศิษย์ ต้องอาบัติทุกกฏ
2. ขั้นรับคำสั่ง ทันทีที่พระสังฆรักขิตรับคำสั่ง ผู้เป็นอาจารย์ต้องอาบัติถุลลัจจัย
3. ขั้นปฏิบัติการ ถ้าพระสังฆรักขิตลักทรัพย์นั้นมาได้ ทั้ง 4 รูป ต้องอาบัติปาราชิก
(วิ.อ. 1/121/402)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :94 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 2 บทภาชนีย์

นั้นในเวลาที่ท่านสามารถจะลักได้” ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งลักทรัพย์นั้นมา
ได้ ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง 2 รูป
ภิกษุสั่งภิกษุว่า “จงลักทรัพย์นี้มา” ต้องอาบัติทุกกฏ เธอสั่งแล้วเกิดความ
เดือดร้อนใจ แต่ไม่ได้กล่าวให้ผู้รับคำสั่งได้ยินว่า “อย่าลัก” ภิกษุผู้รับคำสั่งลักทรัพย์
นั้นมาได้ ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง 2 รูป
ภิกษุสั่งภิกษุว่า “จงลักทรัพย์นี้มา” ต้องอาบัติทุกกฏ เธอสั่งแล้วเกิดความ
เดือดร้อนใจ จึงกล่าวให้ได้ยินว่า “อย่าลัก” แต่ภิกษุผู้รับคำสั่งกล่าวว่า “ท่านสั่ง
ผมแล้ว” ลักทรัพย์นั้นมาได้ ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลัก ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุสั่งภิกษุว่า “จงลักทรัพย์นี้มา” ต้องอาบัติทุกกฏ เธอสั่งแล้วเกิดความ
เดือดร้อนใจ จึงกล่าวให้ผู้รับคำสั่งได้ยินว่า “อย่าลัก” ภิกษุผู้รับคำสั่งนั้นรับว่า “ดีละ”
จึงงดเว้น ไม่ต้องอาบัติทั้ง 2 รูป

องค์แห่งปาราชิกสิกขาบทที่ 2

[122] ภิกษุผู้ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ ต้องอาบัติปาราชิก ด้วยอาการ 5
อย่าง คือ
1. ทรัพย์มีผู้ครอบครอง
2. สำคัญว่าเป็นทรัพย์ที่มีผู้ครอบครอง
3. ทรัพย์มีค่ามาก ราคา 5 มาสก หรือเกินกว่า 5 มาสก
4. มีไถยจิตปรากฏ
5. ภิกษุจับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้
เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
[123] ภิกษุผู้ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ด้วยอาการ 5
อย่าง คือ
1. ทรัพย์มีผู้ครอบครอง
2. สำคัญว่าเป็นทรัพย์ที่มีผู้ครอบครอง
3. ทรัพย์มีค่าน้อย ราคาเกิน 1 มาสก หรือน้อยกว่า 5 มาสก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :95 }