เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 2 บทภาชนีย์

ภิกษุผู้รับของฝาก

ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้รับของฝาก ได้แก่ ภิกษุผู้รักษาทรัพย์ที่เขานำมาฝากไว้ ภิกษุ
มีไถยจิต จับต้องทรัพย์มีราคา 5 มาสก หรือเกินกว่า 5 มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ
ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก

การชักชวนกันไปลัก

ที่ชื่อว่า การชักชวนกันไปลัก ได้แก่ ภิกษุหลายรูปชักชวนกันแล้ว รูปหนึ่ง
ลักทรัพย์มาได้ ต้องอาบัติปาราชิกทุกรูป

การนัดหมาย

[119] ที่ชื่อว่า การนัดหมาย อธิบายว่า ภิกษุทำการนัดหมายว่า จงลัก
ทรัพย์ตามเวลานัดหมายนั้น คือ ในเวลาก่อนฉันอาหาร หรือในเวลาหลังหลังอาหาร
ในเวลากลางคืน หรือในเวลากลางวัน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลัก ลักทรัพย์ได้มา
ตามเวลานัดหมายนั้น ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง 2 รูป ภิกษุผู้ลัก ลักทรัพย์ได้มา
ก่อนหรือหลังเวลานัดหมายนั้น ภิกษุผู้นัดหมายไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลัก ต้องอาบัติ
ปาราชิก

การทำนิมิต

[120] ที่ชื่อว่า การทำนิมิต อธิบายว่า ภิกษุทำนิมิตว่า เราจักขยิบตา ยักคิ้ว
หรือผงกศีรษะ ท่านจงลักทรัพย์นั้น ตามที่เราทำนิมิตนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุ
ผู้ลัก ลักทรัพย์ได้มาตามการทำนิมิตนั้น ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง 2 รูป ภิกษุผู้ลัก
ลักทรัพย์มาได้ก่อนหรือหลังการทำนิมิตนั้น ภิกษุผู้ทำนิมิตไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลัก
ต้องอาบัติปาราชิก

การสั่ง

[121] ภิกษุสั่งภิกษุว่า “ท่านจงลักทรัพย์นี้มา” ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุ
ผู้รับคำสั่งสำคัญทรัพย์นั้นว่าเป็นทรัพย์นั้น ลักทรัพย์นั้นมาได้ ต้องอาบัติปาราชิก
ทั้ง 2 รูป


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 2 บทภาชนีย์

ภิกษุสั่งภิกษุว่า “ท่านจงลักทรัพย์นี้มา” ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่ง
สำคัญทรัพย์นั้นว่าเป็นทรัพย์นั้น ลักทรัพย์อื่นมา ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลัก
ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุสั่งภิกษุว่า “ท่านจงลักทรัพย์นี้มา” ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่ง
สำคัญทรัพย์นั้นว่าเป็นทรัพย์อื่น แต่ลักทรัพย์นั้นมาได้ ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง 2 รูป
ภิกษุสั่งภิกษุว่า “ท่านจงลักทรัพย์นี้มา” ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่ง
สำคัญทรัพย์นั้นว่าเป็นทรัพย์อื่น ลักทรัพย์อื่นมาได้ ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้
ลักต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุ (ผู้เป็นอาจารย์) สั่งภิกษุ (ชื่อว่าพุทธรักขิต) ว่า “ท่านจงบอกภิกษุ
ชื่อ(ธัมมรักขิต)นี้ว่า จงบอกภิกษุชื่อ(สังฆรักขิต)นี้ว่า ‘จงลักทรัพย์นี้มา” ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งไปบอกภิกษุอีกรูปหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ1 ภิกษุผู้ลักรับคำสั่ง
ภิกษุผู้สั่งครั้งแรกต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุผู้ลัก ลักทรัพย์นั้นมาได้ ต้องอาบัติ
ปาราชิกทุกรูป
ภิกษุ (ผู้เป็นอาจารย์) สั่งภิกษุ (ชื่อว่าพุทธรักขิต) ว่า “ท่านจงบอกภิกษุ
ชื่อ(ธัมมรักขิต)นี้ว่า จงบอกภิกษุชื่อ(สังฆรักขิต)นี้ว่า ‘จงลักทรัพย์นี้มา” ดังนี้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งไปบอกภิกษุรูปอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลักรับคำสั่ง
ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลัก ลักทรัพย์นั้นมาได้ ภิกษุผู้สั่งครั้งแรก ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุผู้สั่งต่อและภิกษุผู้ลัก ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุสั่งภิกษุว่า “จงลักทรัพย์นี้มา” ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งไปแล้ว
กลับมาบอกว่า “กระผมไม่สามารถลักทรัพย์นั้นได้” ผู้สั่งจึงสั่งอีกว่า “จงลักทรัพย์

เชิงอรรถ :
1 พระอรรถกถาจารย์ยกตัวอย่างไว้ชัดเจนว่า ในกรณีนี้มีภิกษุเกี่ยวข้องอยู่ 4 รูป คือ อาจารย์ 1 รูป
ภิกษุผู้เป็นศิษย์อีก 3 รูป คือ พุทธรักขิต ธัมมรักขิต และสังฆรักขิต กรณีนี้มี 3 ขั้นตอน คือ
1. ขั้นออกคำสั่ง ทั้งอาจารย์และศิษย์ ต้องอาบัติทุกกฏ
2. ขั้นรับคำสั่ง ทันทีที่พระสังฆรักขิตรับคำสั่ง ผู้เป็นอาจารย์ต้องอาบัติถุลลัจจัย
3. ขั้นปฏิบัติการ ถ้าพระสังฆรักขิตลักทรัพย์นั้นมาได้ ทั้ง 4 รูป ต้องอาบัติปาราชิก
(วิ.อ. 1/121/402)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :94 }