เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 2 บทภาชนีย์

ภิกษุมีไถยจิต จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุคิดจะพาเดินไป ให้ย่างเท้าที่ 1 ไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ย่างเท้าที่ 2 ไป
ต้องอาบัติปาราชิก

สัตว์ 4 เท้า

[116] ที่ชื่อว่า สัตว์ 4 เท้า ได้แก่ ช้าง ม้า อูฐ โค ลา สัตว์เลี้ยง
ภิกษุมีไถยจิต จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุคิดจะพาเดินไป ให้ย่างเท้าที่ 1 ไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ย่างเท้าที่ 2 ไป
ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ย่างเท้าที่ 3 ไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ย่างเท้าที่ 4 ไป ต้อง
อาบัติปาราชิก

สัตว์มีเท้ามาก

[117] ที่ชื่อว่า สัตว์มีเท้ามาก ได้แก่ สัตว์จำพวกแมลงป่อง ตะขาบ บุ้งขน
ภิกษุมีไถยจิต จับต้องสัตว์มีเท้ามาก ที่มีราคา 5 มาสก หรือเกินกว่า 5 มาสก
ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุคิดจะพาเดินไป ให้ย่างเท้าก้าวไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทุกๆ ก้าว ให้
ย่างเท้าหลังสุดก้าวไป ต้องอาบัติปาราชิก

ภิกษุผู้สั่ง

[118] ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้สั่ง ได้แก่ ภิกษุสั่งกำหนดลักทรัพย์ว่า ท่านจงลัก
ทรัพย์อันนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุรับคำสั่งลักทรัพย์นั้นมาได้ ต้องอาบัติปาราชิก
ทั้ง 2 รูป


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 2 บทภาชนีย์

ภิกษุผู้รับของฝาก

ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้รับของฝาก ได้แก่ ภิกษุผู้รักษาทรัพย์ที่เขานำมาฝากไว้ ภิกษุ
มีไถยจิต จับต้องทรัพย์มีราคา 5 มาสก หรือเกินกว่า 5 มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ
ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก

การชักชวนกันไปลัก

ที่ชื่อว่า การชักชวนกันไปลัก ได้แก่ ภิกษุหลายรูปชักชวนกันแล้ว รูปหนึ่ง
ลักทรัพย์มาได้ ต้องอาบัติปาราชิกทุกรูป

การนัดหมาย

[119] ที่ชื่อว่า การนัดหมาย อธิบายว่า ภิกษุทำการนัดหมายว่า จงลัก
ทรัพย์ตามเวลานัดหมายนั้น คือ ในเวลาก่อนฉันอาหาร หรือในเวลาหลังหลังอาหาร
ในเวลากลางคืน หรือในเวลากลางวัน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลัก ลักทรัพย์ได้มา
ตามเวลานัดหมายนั้น ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง 2 รูป ภิกษุผู้ลัก ลักทรัพย์ได้มา
ก่อนหรือหลังเวลานัดหมายนั้น ภิกษุผู้นัดหมายไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลัก ต้องอาบัติ
ปาราชิก

การทำนิมิต

[120] ที่ชื่อว่า การทำนิมิต อธิบายว่า ภิกษุทำนิมิตว่า เราจักขยิบตา ยักคิ้ว
หรือผงกศีรษะ ท่านจงลักทรัพย์นั้น ตามที่เราทำนิมิตนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุ
ผู้ลัก ลักทรัพย์ได้มาตามการทำนิมิตนั้น ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง 2 รูป ภิกษุผู้ลัก
ลักทรัพย์มาได้ก่อนหรือหลังการทำนิมิตนั้น ภิกษุผู้ทำนิมิตไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลัก
ต้องอาบัติปาราชิก

การสั่ง

[121] ภิกษุสั่งภิกษุว่า “ท่านจงลักทรัพย์นี้มา” ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุ
ผู้รับคำสั่งสำคัญทรัพย์นั้นว่าเป็นทรัพย์นั้น ลักทรัพย์นั้นมาได้ ต้องอาบัติปาราชิก
ทั้ง 2 รูป