เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 2 บทภาชนีย์

ภิกษุเข้าไปที่ด่านภาษีนั้น มีไถยจิตจับต้องทรัพย์ที่ควรเสียภาษี มีราคา 5
มาสกหรือเกินกว่า 5 มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ย่างเท้าที่ 1 ผ่านด่านภาษีไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ย่างเท้าที่ 2 ผ่านด่านภาษีไป
ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุยืนอยู่ภายในด่านภาษี โยนทรัพย์ให้ตกนอกด่านภาษี ต้องอาบัติ
ปาราชิก ภิกษุหลีกด่านภาษี1 ต้องอาบัติทุกกฏ

สัตว์มีชีวิต

[114] ที่ชื่อว่า สัตว์มีชีวิต หมายเอามนุษย์ที่มีชีวิต2
ภิกษุมีไถยจิต จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุคิดจะพาเดินไป ให้ย่างเท้าที่ 1 ไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ย่างเท้าที่ 2
ไป ต้องอาบัติปาราชิก

สัตว์ไม่มีเท้า

ที่ชื่อว่า สัตว์ไม่มีเท้า ได้แก่ งู ปลา
ภิกษุมีไถยจิต จับต้องสัตว์ไม่มีเท้า มีราคา 5 มาสกหรือเกินกว่า 5 มาสก
ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก

สัตว์ 2 เท้า

[115] ที่ชื่อว่า สัตว์ 2 เท้า ได้แก่ มนุษย์ นก

เชิงอรรถ :
1 พระอรรถกถาจารย์แก้ความตามนัยแห่งมหาอรรถกถาว่า ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะเดินหลบด่านภาษี
ไปห่าง 2 ช่วงก้อนดินตก (วิ.อ. 1/113/392)
2 มนุษย์ที่มีชีวิต หมายถึง ทาสเรือนเบี้ย ทาสน้ำเงิน ทาสเชลย (วิ.อ. 1/114/393)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :91 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 2 บทภาชนีย์

ภิกษุมีไถยจิต จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุคิดจะพาเดินไป ให้ย่างเท้าที่ 1 ไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ย่างเท้าที่ 2 ไป
ต้องอาบัติปาราชิก

สัตว์ 4 เท้า

[116] ที่ชื่อว่า สัตว์ 4 เท้า ได้แก่ ช้าง ม้า อูฐ โค ลา สัตว์เลี้ยง
ภิกษุมีไถยจิต จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุคิดจะพาเดินไป ให้ย่างเท้าที่ 1 ไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ย่างเท้าที่ 2 ไป
ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ย่างเท้าที่ 3 ไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ย่างเท้าที่ 4 ไป ต้อง
อาบัติปาราชิก

สัตว์มีเท้ามาก

[117] ที่ชื่อว่า สัตว์มีเท้ามาก ได้แก่ สัตว์จำพวกแมลงป่อง ตะขาบ บุ้งขน
ภิกษุมีไถยจิต จับต้องสัตว์มีเท้ามาก ที่มีราคา 5 มาสก หรือเกินกว่า 5 มาสก
ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุคิดจะพาเดินไป ให้ย่างเท้าก้าวไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทุกๆ ก้าว ให้
ย่างเท้าหลังสุดก้าวไป ต้องอาบัติปาราชิก

ภิกษุผู้สั่ง

[118] ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้สั่ง ได้แก่ ภิกษุสั่งกำหนดลักทรัพย์ว่า ท่านจงลัก
ทรัพย์อันนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุรับคำสั่งลักทรัพย์นั้นมาได้ ต้องอาบัติปาราชิก
ทั้ง 2 รูป