เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 2 บทภาชนีย์

ต้องอาบัติทุกกฏ จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้
เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิต จับต้องไม้ เถาวัลย์ หญ้าที่เกิดในป่านั้น มีราคา 5 มาสกหรือ
เกินกว่า 5 มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่
ต้องอาบัติปาราชิก

น้ำ

[108] ที่ชื่อว่า น้ำ ได้แก่ น้ำที่อยู่ในภาชนะ ขังอยู่ในสระโบกขรณี หรือในบ่อ
ภิกษุมีไถยจิต จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิต หย่อนภาชนะของตนลงไปถูกต้องน้ำ มีราคา 5 มาสกหรือ
เกินกว่า 5 มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้น้ำไหล
เข้าไปในภาชนะของตน ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุทำลายคันนา ต้องอาบัติทุกกฏ ทำลายคันนาทำน้ำให้ไหลออกไป มีราคา
5 มาสกหรือเกินกว่า 5 มาสก ต้องอาบัติปาราชิก ทำให้น้ำไหลออกไปมีราคาเกิน
กว่า 1 มาสก หรือน้อยกว่า 5 มาสก ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้น้ำไหลออกไป มี
ราคา 1 มาสกหรือหย่อนกว่า 1 มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม้ชำระฟัน

[109] ที่ชื่อว่า ไม้ชำระฟัน ได้แก่ ไม้ชำระฟันที่ตัดแล้วหรือยังมิได้ตัด
ภิกษุมีไถยจิต จับต้องไม้ชำระฟัน มีราคา 5 มาสก หรือเกินกว่า 5 มาสก
ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก

ต้นไม้เจ้าป่า

[110] ที่ชื่อว่า ต้นไม้เจ้าป่า ได้แก่ ต้นไม้ที่คนทั้งหลายครอบครอง เป็น
ต้นไม้ใช้สอยได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :89 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 2 บทภาชนีย์

ภิกษุมีไถยจิต ตัด ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ ครั้งที่ฟันต้นไม้ เมื่อฟันอีกครั้ง
เดียว ต้นไม้จะขาด ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อฟันต้นไม้ขาด ต้องอาบัติปาราชิก

ทรัพย์ที่มีผู้นำไป

[111] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่มีผู้นำไป ได้แก่ สิ่งของที่ผู้อื่นนำไป
ภิกษุมีไถยจิต จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุคิดว่า จะนำทรัพย์พร้อมกับผู้ถือทรัพย์เดินไป ให้ย่างเท้าที่ 1 ไป ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย ให้ย่างเท้าที่ 2 ไป ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุทำให้ทรัพย์ตกด้วยคิดว่า จะเก็บทรัพย์ที่ตก ต้องอาบัติทุกกฏ มีไถยจิต
จับต้องทรัพย์ที่ตก มีราคา 5 มาสกหรือเกินกว่า 5 มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้
ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก

ทรัพย์ที่เขาฝากไว้

[112] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่เขาฝากไว้ ได้แก่ สิ่งของที่ผู้อื่นให้เก็บไว้
ภิกษุรับฝากของ เมื่อเจ้าของทวงว่า “จงคืนทรัพย์ให้แก่ข้าพเจ้า” ปฏิเสธว่า
“อาตมาไม่ได้รับไว้” ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้เจ้าของเกิดความสงสัย ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย หากเจ้าของทอดธุระว่า จะไม่คืนให้เรา ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุเมื่อดำเนินคดี ชนะความเจ้าของ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อดำเนินคดี
แพ้ความ ต้องอาบัติถุลลัจจัย

ด่านภาษี

[113] ที่ชื่อว่า ด่านภาษี ได้แก่ ที่ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงกำหนดเขต
ที่ภูเขาขาดก็ดี ท่าน้ำก็ดี ประตูเข้าหมู่บ้านก็ดี ด้วยรับสั่งว่า “จงเก็บภาษีผู้ผ่าน
เข้าไปที่นั้น”