เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 2 บทภาชนีย์

ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในอากาศ หาเพื่อนไปด้วยหรือไปแต่ผู้เดียว ต้อง
อาบัติทุกกฏ หยุดการไปของทรัพย์ ต้องอาบัติทุกกฏ จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก

ทรัพย์ที่อยู่ในที่แจ้ง

[97] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่อยู่ในที่แจ้ง ได้แก่ ทรัพย์ที่แขวนไว้ในที่แจ้ง เช่น
ทรัพย์ที่คล้องไว้บนเตียงหรือตั่ง ห้อยไว้บนราวจีวร สายระเดียง ที่เดือยฝา ที่เครื่อง
แขวนรูปงาช้างหรือที่ต้นไม้ โดยที่สุดแม้บนเชิงรองบาตร ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลัก
ทรัพย์ที่อยู่ในที่แจ้ง หาเพื่อนไปด้วยหรือไปแต่ผู้เดียว ต้องอาบัติทุกกฏ จับต้อง ต้อง
อาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก

ทรัพย์ที่อยู่ในน้ำ

[98] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่อยู่ในน้ำ ได้แก่ ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในน้ำ
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในน้ำ หาเพื่อนไปด้วย หรือไปแต่ผู้เดียว
ต้องอาบัติทุกกฏ ดำลงหรือโผล่ขึ้นในน้ำ ต้องอาบัติทุกกฏ จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิต จับต้องดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก เหง้าบัว ปลาหรือเต่า
ที่เกิดในน้ำนั้น มีราคา 5 มาสก หรือเกินกว่า 5 มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว
ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก

ทรัพย์ที่อยู่ในเรือ

[99] ที่ชื่อว่า เรือ ได้แก่ พาหนะสำหรับใช้ข้ามน้ำ
ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่อยู่ในเรือ ได้แก่ ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในเรือ
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในเรือ หาเพื่อนไปด้วยหรือไปแต่ผู้เดียว
ต้องอาบัติทุกกฏ จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้
เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก