เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 2 บทภาชนีย์

คำว่า เนรเทศบ้าง ได้แก่ ขับไล่ออกไปจากหมู่บ้านบ้าง จากตำบลบ้าง จาก
เมืองบ้าง จากชนบทบ้าง จากประเทศบ้าง
คำว่า เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นขโมย นี้เป็น
คำบริภาษ
ที่ชื่อว่า เช่นนั้น คือ 1 บาทบ้าง ควรแก่ 1 บาทบ้าง เกินกว่า 1 บาทบ้าง
คำว่า ผู้ถือเอา ได้แก่ ผู้ตู่ ชิง ฉ้อ เคลื่อนไหวอิริยาบถ ทำให้ทรัพย์เคลื่อนที่
ให้ล่วงเขตที่หมาย
คำว่า แม้ภิกษุนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบเคียงภิกษุรูปก่อน
คำว่า เป็นปาราชิก อธิบายว่า ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้ 1 บาทบ้าง
ควรแก่ 1 บาทบ้าง เกินกว่า 1 บาทบ้าง โดยส่วนแห่งจิตคิดจะลัก ย่อมไม่เป็นสมณะ
ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร เปรียบเหมือนใบไม้เหี่ยวเหลืองหลุดจากขั้วแล้ว ไม่อาจ
เป็นของเขียวสดต่อไปได้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า เป็นปาราชิก
คำว่า หาสังวาสมิได้ อธิบายว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่ กรรมที่ทำร่วมกัน
อุทเทสที่สวดร่วมกัน ความมีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่า สังวาส สังวาสนั้นไม่มีกับภิกษุ
รูปนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้

บทภาชนีย์
มาติกา

[93] ทรัพย์ที่อยู่ในแผ่นดิน ทรัพย์ที่อยู่บนบก ทรัพย์ที่อยู่ในอากาศ
ทรัพย์ที่อยู่ในที่แจ้ง ทรัพย์ที่อยู่ในน้ำ ทรัพย์ที่อยู่ในเรือ ทรัพย์ที่อยู่ในยาน ทรัพย์
ที่นำติดตัวไปได้ ทรัพย์ที่อยู่ในสวน ทรัพย์ที่อยู่ในวัด ทรัพย์ที่อยู่ในนา ทรัพย์ที่
อยู่ในพื้นที่ ทรัพย์ที่อยู่ในหมู่บ้าน ทรัพย์ที่อยู่ในป่า น้ำ ไม้ชำระฟัน ต้นไม้เจ้าป่า
ทรัพย์ที่มีผู้นำไป ทรัพย์ที่เขาฝากไว้ ด่านภาษี สัตว์มีชีวิต สัตว์ไม่มีเท้า สัตว์ 2 เท้า
สัตว์ 4 เท้า สัตว์มีเท้ามาก ภิกษุผู้สั่ง ภิกษุผู้รับของฝาก การชักชวนกันไปลัก
การนัดหมาย การทำนิมิต


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 2 บทภาชนีย์

ทรัพย์ที่อยู่ในแผ่นดิน

[94] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่อยู่ในแผ่นดิน ได้แก่ ทรัพย์ที่ฝังกลบไว้ในแผ่นดิน
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในแผ่นดิน แล้วหาเพื่อนไปด้วย หาจอบ หาตะกร้า
หรือไปแต่ผู้เดียว ต้องอาบัติทุกกฏ ตัดไม้หรือเถาวัลย์ที่ขึ้นอยู่ที่นั้น ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ขุดคุ้ยหรือโกยดินร่วน ต้องอาบัติทุกกฏ จับต้องหม้อทรัพย์ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิต หย่อนภาชนะของตนลงไปถูกต้องทรัพย์มีราคา 5 มาสกหรือ
เกินกว่า 5 มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้ทรัพย์เข้า
ไปอยู่ในภาชนะของตน หรือหยิบขาดจากกันขึ้นมาหนึ่งกำมือ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิต จับต้องทรัพย์ที่เขาร้อยด้วยด้าย สังวาล สร้อยคอ เข็มขัด
ผ้าสาฎก ผ้าโพก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติทุกกฏ จับปลายยกขึ้น
ต้องอาบัติถุลลัจจัย ดึงครูดออกไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้พ้นปากหม้อแม้เพียง
ปลายผม ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิต ดื่มเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย มีราคา 5 มาสก หรือเกิน
กว่า 5 มาสก ด้วยการดื่มครั้งเดียว ต้องอาบัติปาราชิก ทำลาย ทำให้หก เผา
ทิ้ง หรือทำให้บริโภคไม่ได้ ต้องอาบัติทุกกฏ

ทรัพย์ที่อยู่บนบก

[95] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่อยู่บนบก ได้แก่ ทรัพย์ที่เขาวางไว้บนบก ภิกษุมี
ไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่บนบก หาเพื่อนไปด้วยหรือไปแต่ผู้เดียว ต้องอาบัติ
ทุกกฏ จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่
ต้องอาบัติปาราชิก

ทรัพย์ที่อยู่ในอากาศ

[96] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่อยู่ในอากาศ ได้แก่ ทรัพย์ที่ไปในอากาศ คือนกยูง
นกคับแค นกกระทา นกกระจาบ ผ้าสาฎก ผ้าโพก หรือเงินทองที่ขาดหลุดตกลง