เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 2 สิกขาบทวิภังค์

คนอยู่บ้าง หมู่บ้านไม่มีคนอยู่บ้าง หมู่บ้านที่มีรั้วล้อมบ้าง หมู่บ้านไม่มีรั้วล้อมบ้าง
หมู่บ้านที่มีโรงเรือนเหมือนโรงพักโคบ้าง แม้สถานที่ที่มีหมู่เกวียนหรือโคต่างพักแรม
เกินกว่า 4 เดือน ก็ตรัสเรียกว่า เป็นหมู่บ้าน
ที่ชื่อว่า อุปจารหมู่บ้าน ได้แก่ เขตที่ชายมีกำลังปานกลางยืนอยู่ที่เสาเขื่อน
ของหมู่บ้านที่มีรั้วล้อม ขว้างก้อนดินไปตกลง หรือ เขตที่ชายมีกำลังปานกลางยืนอยู่
ที่อุปจารเรือนของหมู่บ้านที่ไม่มีรั้วล้อม ขว้างก้อนดินไปตกลง
ที่ชื่อว่า ป่า ได้แก่ สถานที่ที่เว้นหมู่บ้านและอุปจารหมู่บ้าน นอกนั้นชื่อว่า ป่า
ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้ ได้แก่ ทรัพย์ที่เจ้าของไม่ให้ ไม่สละ ไม่
บริจาค ยังรักษาคุ้มครองอยู่ ถือกรรมสิทธิ์อยู่ เป็นทรัพย์ที่คนอื่นหวงแหน นั่นชื่อว่า
ทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้
คำว่า โดยส่วนแห่งจิตคิดจะลัก คือ มีไถยจิต ได้แก่ คิดจะลัก
คำว่า ถือเอา ได้แก่ ตู่ ชิง ฉ้อ เคลื่อนไหวอิริยาบถ ทำให้ทรัพย์เคลื่อนที่ ให้
ล่วงเขตที่หมาย
ที่ชื่อว่า เช่นใด คือ 1 บาทบ้าง ควรแก่ 1 บาทบ้าง เกินกว่า 1 บาทบ้าง
ที่ชื่อว่า พระราชาทั้งหลาย ได้แก่ พระเจ้าแผ่นดิน เจ้าผู้ปกครองประเทศ
ท่านผู้ปกครองมณฑล ท่านผู้ปกครองหมู่บ้านที่อยู่ในระหว่าง ท่านผู้ตัดสินคดี
มหาอมาตย์ หรือเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจสั่งประหารและจองจำได้ ท่านเหล่านี้ชื่อว่า
พระราชาทั้งหลาย
ที่ชื่อว่า โจร ได้แก่ ผู้ที่ลักทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้มีราคา 5 มาสกบ้าง
เกินกว่า 5 มาสกบ้าง โดยส่วนแห่งจิตคิดจะลัก นี้ชื่อว่า โจร
คำว่า ประหารบ้าง ได้แก่ ประหารด้วยมือบ้าง ด้วยเท้าบ้าง ด้วยแส้บ้าง
ด้วยหวายบ้าง ด้วยกระบองบ้าง ด้วยการตัดบ้าง
คำว่า จองจำบ้าง ได้แก่ จองจำด้วยเครื่องจองจำคือเชือกบ้าง ขื่อคาบ้าง
โซ่ตรวนบ้าง ด้วยการกักขังในเรือนจำบ้าง กักบริเวณในเมืองบ้าง ในหมู่บ้านบ้าง ใน
ตำบลบ้าง ให้คนคอยควบคุมบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :81 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 2 บทภาชนีย์

คำว่า เนรเทศบ้าง ได้แก่ ขับไล่ออกไปจากหมู่บ้านบ้าง จากตำบลบ้าง จาก
เมืองบ้าง จากชนบทบ้าง จากประเทศบ้าง
คำว่า เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นขโมย นี้เป็น
คำบริภาษ
ที่ชื่อว่า เช่นนั้น คือ 1 บาทบ้าง ควรแก่ 1 บาทบ้าง เกินกว่า 1 บาทบ้าง
คำว่า ผู้ถือเอา ได้แก่ ผู้ตู่ ชิง ฉ้อ เคลื่อนไหวอิริยาบถ ทำให้ทรัพย์เคลื่อนที่
ให้ล่วงเขตที่หมาย
คำว่า แม้ภิกษุนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบเคียงภิกษุรูปก่อน
คำว่า เป็นปาราชิก อธิบายว่า ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้ 1 บาทบ้าง
ควรแก่ 1 บาทบ้าง เกินกว่า 1 บาทบ้าง โดยส่วนแห่งจิตคิดจะลัก ย่อมไม่เป็นสมณะ
ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร เปรียบเหมือนใบไม้เหี่ยวเหลืองหลุดจากขั้วแล้ว ไม่อาจ
เป็นของเขียวสดต่อไปได้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า เป็นปาราชิก
คำว่า หาสังวาสมิได้ อธิบายว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่ กรรมที่ทำร่วมกัน
อุทเทสที่สวดร่วมกัน ความมีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่า สังวาส สังวาสนั้นไม่มีกับภิกษุ
รูปนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้

บทภาชนีย์
มาติกา

[93] ทรัพย์ที่อยู่ในแผ่นดิน ทรัพย์ที่อยู่บนบก ทรัพย์ที่อยู่ในอากาศ
ทรัพย์ที่อยู่ในที่แจ้ง ทรัพย์ที่อยู่ในน้ำ ทรัพย์ที่อยู่ในเรือ ทรัพย์ที่อยู่ในยาน ทรัพย์
ที่นำติดตัวไปได้ ทรัพย์ที่อยู่ในสวน ทรัพย์ที่อยู่ในวัด ทรัพย์ที่อยู่ในนา ทรัพย์ที่
อยู่ในพื้นที่ ทรัพย์ที่อยู่ในหมู่บ้าน ทรัพย์ที่อยู่ในป่า น้ำ ไม้ชำระฟัน ต้นไม้เจ้าป่า
ทรัพย์ที่มีผู้นำไป ทรัพย์ที่เขาฝากไว้ ด่านภาษี สัตว์มีชีวิต สัตว์ไม่มีเท้า สัตว์ 2 เท้า
สัตว์ 4 เท้า สัตว์มีเท้ามาก ภิกษุผู้สั่ง ภิกษุผู้รับของฝาก การชักชวนกันไปลัก
การนัดหมาย การทำนิมิต