เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 2 สิกขาบทวิภังค์

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอลักห่อผ้าของช่าง
ย้อม จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระ
ภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอไม่สมควร
ฯลฯ ไม่ควรทำเลย โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงลักห่อผ้าของช่างย้อมมาเล่า
โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ”
ครั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่างๆ แล้วจึงตรัสโทษแห่งความเป็นผู้เลี้ยง
ยาก ฯลฯ คุณแห่งการปรารภความเพียร แล้วทรงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย
ให้เหมาะสมกับเรื่องนั้นแล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ

[91] อนึ่ง ภิกษุใดถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้โดยส่วนแห่งจิตคิดจะ
ลัก จากหมู่บ้านก็ตาม จากป่าก็ตาม มีมูลค่าเท่ากับอัตราโทษที่พระราชาทั้ง
หลายจับโจรได้แล้ว ประหารบ้าง จองจำบ้าง เนรเทศบ้าง บริภาษว่า “เจ้าเป็นโจร
เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นขโมย” ดังนี้ เพราะถือเอาทรัพย์ที่
เจ้าของมิได้ให้เช่นใด ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้เช่นนั้น แม้ภิกษุนี้ก็
เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้

เรื่องพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[92] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง... ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านมีกระท่อม 1 หลังบ้าง หมู่บ้านมีกระท่อม 2
หลังบ้าง หมู่บ้านมีกระท่อม 3 หลังบ้าง หมู่บ้านมีกระท่อม 4 หลังบ้าง หมู่บ้านมี


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 2 สิกขาบทวิภังค์

คนอยู่บ้าง หมู่บ้านไม่มีคนอยู่บ้าง หมู่บ้านที่มีรั้วล้อมบ้าง หมู่บ้านไม่มีรั้วล้อมบ้าง
หมู่บ้านที่มีโรงเรือนเหมือนโรงพักโคบ้าง แม้สถานที่ที่มีหมู่เกวียนหรือโคต่างพักแรม
เกินกว่า 4 เดือน ก็ตรัสเรียกว่า เป็นหมู่บ้าน
ที่ชื่อว่า อุปจารหมู่บ้าน ได้แก่ เขตที่ชายมีกำลังปานกลางยืนอยู่ที่เสาเขื่อน
ของหมู่บ้านที่มีรั้วล้อม ขว้างก้อนดินไปตกลง หรือ เขตที่ชายมีกำลังปานกลางยืนอยู่
ที่อุปจารเรือนของหมู่บ้านที่ไม่มีรั้วล้อม ขว้างก้อนดินไปตกลง
ที่ชื่อว่า ป่า ได้แก่ สถานที่ที่เว้นหมู่บ้านและอุปจารหมู่บ้าน นอกนั้นชื่อว่า ป่า
ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้ ได้แก่ ทรัพย์ที่เจ้าของไม่ให้ ไม่สละ ไม่
บริจาค ยังรักษาคุ้มครองอยู่ ถือกรรมสิทธิ์อยู่ เป็นทรัพย์ที่คนอื่นหวงแหน นั่นชื่อว่า
ทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้
คำว่า โดยส่วนแห่งจิตคิดจะลัก คือ มีไถยจิต ได้แก่ คิดจะลัก
คำว่า ถือเอา ได้แก่ ตู่ ชิง ฉ้อ เคลื่อนไหวอิริยาบถ ทำให้ทรัพย์เคลื่อนที่ ให้
ล่วงเขตที่หมาย
ที่ชื่อว่า เช่นใด คือ 1 บาทบ้าง ควรแก่ 1 บาทบ้าง เกินกว่า 1 บาทบ้าง
ที่ชื่อว่า พระราชาทั้งหลาย ได้แก่ พระเจ้าแผ่นดิน เจ้าผู้ปกครองประเทศ
ท่านผู้ปกครองมณฑล ท่านผู้ปกครองหมู่บ้านที่อยู่ในระหว่าง ท่านผู้ตัดสินคดี
มหาอมาตย์ หรือเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจสั่งประหารและจองจำได้ ท่านเหล่านี้ชื่อว่า
พระราชาทั้งหลาย
ที่ชื่อว่า โจร ได้แก่ ผู้ที่ลักทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้มีราคา 5 มาสกบ้าง
เกินกว่า 5 มาสกบ้าง โดยส่วนแห่งจิตคิดจะลัก นี้ชื่อว่า โจร
คำว่า ประหารบ้าง ได้แก่ ประหารด้วยมือบ้าง ด้วยเท้าบ้าง ด้วยแส้บ้าง
ด้วยหวายบ้าง ด้วยกระบองบ้าง ด้วยการตัดบ้าง
คำว่า จองจำบ้าง ได้แก่ จองจำด้วยเครื่องจองจำคือเชือกบ้าง ขื่อคาบ้าง
โซ่ตรวนบ้าง ด้วยการกักขังในเรือนจำบ้าง กักบริเวณในเมืองบ้าง ในหมู่บ้านบ้าง ใน
ตำบลบ้าง ให้คนคอยควบคุมบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :81 }