เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 2 เรื่องพระธนิยกุมภการบุตร

“จริง มหาบพิตร”
“พระคุณเจ้า โยมเป็นพระเจ้าแผ่นดิน มีกรณียกิจมากมาย ถึงจะถวายไป
แล้วก็จำไม่ได้ พระคุณเจ้าโปรดเตือนความจำให้โยมด้วย”
พระธนิยกุมภการบุตร ทูลว่า “ขอถวายพระพร พระองค์จำได้ไหม ครั้งที่
พระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชย์ใหม่ๆ ทรงเปล่งพระวาจาว่า ข้าพเจ้าถวายหญ้า ไม้
และน้ำแก่สมณพราหมณ์ ขอสมณพราหมณ์โปรดใช้สอยเถิด”
“พระคุณเจ้า โยมจำได้ ที่โยมพูดนั้นหมายถึงสมณพราหมณ์ผู้มีความละอาย
มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา มีความรังเกียจแม้ในโทษเล็กน้อย หญ้า ไม้และน้ำ
นั้นยังมิได้มีใครจับจอง อยู่ในป่า ท่านจงใจอ้างจะขนไม้ที่ไม่ให้ไป พระเจ้าแผ่นดิน
เช่นโยมจะฆ่า จองจำหรือเนรเทศสมณพราหมณ์อย่างไรได้ นิมนต์กลับไปเถิด ท่าน
รอดตัวเพราะขน1 แต่อย่าได้ทำอย่างนี้อีก”

ประชาชนตำหนิ

ประชาชนพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร
เหล่านี้ไม่มีความละอาย ทุศีล ชอบพูดเท็จ แต่ก็ปฏิญญาว่า ประพฤติธรรม ประพฤติ
สงบ ประพฤติพรหมจรรย์ พูดจริง มีศีล มีกัลยาณธรรม พวกท่านไม่มีความเป็น
สมณะ ไม่มีความเป็นพราหมณ์ ความเป็นสมณะ ความเป็นพราหมณ์ของพวกท่าน
เสื่อมสิ้นไปแล้ว พวกท่านจะเป็นสมณะเป็นพราหมณ์ได้อย่างไร พวกท่านปราศจาก
ความเป็นสมณะ ปราศจากความเป็นพราหมณ์ แม้พระเจ้าแผ่นดินก็ยังถูกสมณะ
เหล่านั้นหลอกลวงได้ ไฉนคนอื่นจักไม่ถูกหลอกลวงเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มัก
น้อยสันโดษ มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา จึงตำหนิ ประณาม

เชิงอรรถ :
1 โลเมน ตฺวํ มุตฺโตสีติ เอตฺถ โลมมิว โลมํ, กึ ปน ตํ ปพฺพชฺชาลิงฺคํ คำว่า “ขน” ในที่นี้ หมายถึงเพศบรรพชิต
คือผ้ากาสาวพัสตร์ที่ท่านพระธนิยะห่มอยู่ ท่านธนิยะทำความผิดลักไม้ของหลวง ควรถูกจับฆ่าหรือจองจำ
แต่ท่านนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์อันเป็นธงชัยของพระอรหันต์ จึงรอดตัวจากการถูกฆ่าถูกจองจำ ท่านอุปมา
เหมือนแพะมีขนยาวที่จะถูกฆ่ากินเนื้อ พอดีมีบุรุษคนหนึ่งเห็นว่า แพะนี้ขนมีราคา จึงเอาแพะที่ขนสั้น 2 ตัว
มาแลกไป แพะขนยาวจึงรอดตัวเพราะขน (วิ.อ. 1/88/318)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :77 }