เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 1 วินีตวัตถุ

นางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่า
เลยน้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่คอ ทำอย่างนี้
ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาค
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ 66)
สมัยหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสัทธา มีความเลื่อมใสแบบ
งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ
เมื่อนางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ”
“อย่าเลยน้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่ช่องหู ทำ
อย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มี
พระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ 67)
สมัยหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสัทธา มีความเลื่อมใสแบบ
งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ
เมื่อนางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ”
“อย่าเลยน้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่มวยผม
ทำอย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มี
พระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ 68)
สมัยหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสัทธา มีความเลื่อมใสแบบ
งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อ
นางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่าเลย
น้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่ง่ามมือ ทำอย่างนี้
ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาค


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 1 วินีตวัตถุ

ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ 69)
สมัยหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสัทธา มีความเลื่อมใสแบบ
งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ
เมื่อนางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่า
เลย น้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ ดิฉันจะใช้มือพยายามปล่อย
อสุจิให้ ทำอย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้อง
อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ 70)

เรื่องภิกษุณี 1 เรื่อง

[80] สมัยนั้น ในกรุงเวสาลี เจ้าชายลิจฉวีทั้งหลายจับภิกษุให้เสพเมถุน
ธรรมกับภิกษุณี เธอทั้งสองยินดี พึงให้สึกเสียทั้งคู่ ทั้งสองไม่ยินดีไม่ต้องอาบัติ
(เรื่องที่ 71)

เรื่องสิกขมานา 1 เรื่อง

สมัยนั้น ในกรุงเวสาลี เจ้าชายลิจฉวีทั้งหลายจับภิกษุให้เสพเมถุนธรรมกับ
สิกขมานา เธอทั้งสองยินดี พึงให้สึกเสียทั้งคู่ ทั้งสองไม่ยินดีไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ 72)

เรื่องสามเณรี 1 เรื่อง

สมัยนั้น ในกรุงเวสาลี เจ้าชายลิจฉวีทั้งหลาย จับภิกษุให้เสพเมถุนธรรมกับ
สามเณรี เธอทั้งสองยินดี พึงให้สึกเสียทั้งคู่ ทั้งสองไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ 73)

เรื่องหญิงแพศยา 1 เรื่อง

[81] สมัยนั้น ในกรุงเวสาลี เจ้าชายลิจฉวีทั้งหลายจับภิกษุให้เสพเมถุน
ธรรมกับหญิงแพศยา ภิกษุยินดี พึงให้สึกเสีย ถ้าไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ 74)