เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 1 วินีตวัตถุ

เรื่องภิกษุเปิดประตูจำวัด 1 เรื่อง

[77] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจำวัดกลางวันในกูฏาคารศาลาป่ามหาวัน เขต
กรุงเวสาลี ขณะที่เปิดประตูจำวัดหลับ อวัยวะทุกส่วนของท่านถูกลมรำเพยให้แข็งตัว
ครั้งนั้นมีหญิงหลายคนถือของหอมและดอกไม้พากันไปอาราม มองไปที่วิหาร เห็น
ภิกษุ นั้น จึงไปนั่งคร่อมองคชาต ทำการจนพอใจแล้วกล่าวชมเชยภิกษุนั้นว่า “เป็น
ผู้ชายยอดเยี่ยมจริงๆ คนนี้” จากนั้นได้ยกของหอมและดอกไม้พากันจากไป ภิกษุ
ทั้งหลายเห็นองคชาต (ของภิกษุผู้หลับ) เปรอะเปื้อน จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย องคชาตแข็งตัวได้ด้วยเหตุ 5
อย่าง คือ กำหนัด ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ถูกลมรำเพยพัด ถูกบุ้งขน องคชาต
จะแข็งตัว เพราะเหตุ 5 อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่องคชาตของภิกษุนั้นจะแข็งตัว
เพราะความกำหนัดนั้น เป็นไปไม่ได้ เพราะภิกษุนั้น เป็นพระอรหันต์ ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้จะหลีกเร้นพักผ่อนกลางวัน
ปิดประตูแล้วจึงหลีกเร้นพักผ่อน” (เรื่องที่ 51)

เรื่องภิกษุชาวเมืองภารุกัจฉะฝัน 1 เรื่อง

[78] สมัยนั้น ภิกษุชาวเมืองภารุกัจฉะรูปหนึ่ง ฝันว่าได้เสพเมถุนธรรมกับ
อดีตภรรยา จึงคิดว่า เราไม่ใช่สมณะ จักสึก ขณะเดินไปเมืองภารุกัจฉะ ในระหว่าง
ทางพบพระอุบาลี จึงเรียนให้ท่านทราบ พระอุบาลีชี้แจงว่า “ท่าน เพียงความฝัน
ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ 52)

เรื่องอุบาสิกาชื่อสุปัพพา 9 เรื่อง

สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสุปัพพา มีความเลื่อมใสแบบ
งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ
เมื่อนางพบภิกษุรูปหนึ่งจึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่า
เลยน้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่ระหว่างขาอ่อน
ทำอย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :66 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 1 วินีตวัตถุ

ผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ 53)
สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสุปัพพา มีความเลื่อมใสแบบ
งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อ
นางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่าเลย
น้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่สะดือ ทำอย่างนี้
ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาค
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ 54)
สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสุปัพพา มีความเลื่อมใสแบบ
งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อ
นางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่าเลย
น้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่เกลียวท้อง ทำอย่างนี้
ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาค
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ 55)
สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสุปัพพา มีความเลื่อมใสแบบ
งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อ
นางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่าเลย
น้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่ซอกรักแร้ ทำอย่างนี้
ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาค
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล