เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 1 บทภาชนีย์ สัณถตภาณวาร

สอดเข้าทางทวารหนัก ... ทางปาก ของสัตว์ดิรัจฉานตัวผู้มีเครื่องหุ้ม ของภิกษุไม่
มี...ของสัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ไม่มีเครื่องหุ้ม ของภิกษุมี...ของสัตว์ดิรัจฉานตัวผู้มี
เครื่องหุ้ม ของภิกษุก็มี...ของสัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ไม่มีเครื่องหุ้ม ของภิกษุก็ไม่มี ถ้า
ภิกษุยินดีขณะกำลังสอดเข้าไป ยินดีขณะสอดเข้าไปแล้ว ยินดีขณะหยุดอยู่ ยินดี
ขณะถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ ไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ
พวกพระราชาผู้เป็นศัตรู พวกโจรผู้เป็นศัตรู พวกนักเลงผู้เป็นศัตรู พวกควัก
หัวใจที่เป็นศัตรู1 ก็พึงขยายให้พิสดารเหมือนพวกภิกษุผู้เป็นศัตรูที่ให้พิสดารมาแล้ว
ฉะนั้น
[66] ภิกษุสอดองคชาตเข้ามรรคทางมรรค ต้องอาบัติปาราชิก2
ภิกษุสอดองคชาตเข้าอมรรคทางมรรค ต้องอาบัติปาราชิก3
ภิกษุสอดองคชาตเข้ามรรคทางอมรรค ต้องอาบัติปาราชิก4
ภิกษุสอดองคชาตเข้าอมรรคทางอมรรค ต้องอาบัติถุลลัจจัย5
ภิกษุลักหลับภิกษุที่กำลังหลับ เธอตื่นขึ้นยินดี พึงให้สึกเสียทั้งสองรูป หาก
เธอตื่นขึ้นแต่ไม่ยินดี ให้สึกเฉพาะภิกษุรูปที่ทำผิด
ภิกษุลักหลับสามเณรที่กำลังหลับ สามเณรตื่นขึ้นยินดี พึงให้สึกเสียทั้งสองรูป
หากสามเณรตื่นขึ้นแต่ไม่ยินดี พึงให้สึกเฉพาะภิกษุรูปที่ทำผิด
สามเณรลักหลับภิกษุที่กำลังหลับ เธอตื่นขึ้นยินดี พึงให้สึกเสียทั้งสองรูป
หากเธอตื่นขึ้นแต่ไม่ยินดี พึงให้สึกเฉพาะสามเณรรูปที่ทำผิด

เชิงอรรถ :
1 คำว่า อุปฺปลคนฺธปจฺจตฺถิกา อรรถกถาอธิบายว่า คนฺธนฺติ หทยํ วุจฺจติ, ตํ อุปฺปาเฏนฺตีติ อุปฺปลคนฺธา,
อุปฺปลคนฺธา เอว ปจฺจตฺถิกา อุปฺปลนฺธปจฺจตฺถิกา. หทัย ท่านเรียกว่า คันธะ พวกศัตรูที่ชื่อว่า อุปปลคันธะ
เพราะหมายความว่า ชำแหละหทัยนั้น คือผู้ควักหัวใจ ชื่อว่า อุปปลคันธปัจจัตถิกา ( วิ.อ. 1/65/288)
2 สอดองคชาตเข้าทางใดทางหนึ่ง ใน 3 ทาง (คือทวารเบา, ทวารหนัก, ปาก)
3 สอดองคชาตเข้าทางทวารเบาเป็นต้น แล้วถอนออกทางแผลที่อยู่ใกล้ทวารเบาเป็นต้นนั้น
4 สอดองคชาตเข้าทางแผลที่อยู่ใกล้ทวารเบาเป็นต้น แล้วถอนออกทางทวารเบาเป็นต้นนั้น
5 ในจำนวน 2 แผลที่ปะปนกันอยู่ ภิกษุสอดองคชาตเข้าทางแผลหนึ่ง แล้วถอนออกทางแผลที่สอง
(ดู วิ.อ. 1/66/288-9)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :52 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 1 อนาปัตติวาร

สามเณรลักหลับสามเณรที่กำลังหลับ เธอตื่นขึ้นยินดี พึงให้สึกเสียทั้งสองรูป
หากเธอตื่นขึ้นแต่ไม่ยินดี พึงให้สึกเฉพาะสามเณรรูปที่ทำผิด

อนาปัตติวาร

ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
1. ภิกษุไม่รู้สึกตัว
2. ภิกษุไม่ยินดี
3. ภิกษุวิกลจริต
4. ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน
5. ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา
6. ภิกษุต้นบัญญัติ

สันถตภาณวาร จบ

คาถารวมวินีตวัตถุ
เรื่องที่ทรงวินิจฉัยแล้ว

เรื่องลิงตัวเมีย 1 เรื่อง___เรื่องพวกภิกษุวัชชีบุตร 1 เรื่อง
เรื่องปลอมเป็นคฤหัสถ์ 1 เรื่อง___เรื่องเปลือยกาย 1 เรื่อง
เรื่องปลอมเป็นเดียรถีย์ 7 เรื่อง___เรื่องเด็กหญิง 1 เรื่อง
เรื่องภิกษุณีอุบลวรรณา 1 เรื่อง___เรื่องเพศกลับ 2 เรื่อง
เรื่องมารดา 1 เรื่อง___เรื่องธิดา 1 เรื่อง
เรื่องน้องสาว 1 เรื่อง___เรื่องอดีตภรรยา 1 เรื่อง
เรื่องภิกษุหลังอ่อน 1 เรื่อง___เรื่องภิกษุองคชาตยาว 1 เรื่อง
เรื่องบาดแผล 2 เรื่อง___เรื่องรูปปั้น 1 เรื่อง
เรื่องตุ๊กตาไม้ 1 เรื่อง___เรื่องพระสุนทร 1 เรื่อง
เรื่องหญิง 4 เรื่อง___เรื่องป่าช้า 5 เรื่อง
เรื่องกระดูก 1 เรื่อง___เรื่องนางนาค 1 เรื่อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :53 }