เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [3. อนิยตกัณฑ์] 2. ทุติยอนิยตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

อย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลาย
ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้

พระบัญญัติ

[453] ก็ สถานที่ไม่ใช่อาสนะที่กำบัง ไม่พอจะทำการได้ แต่เป็นสถาน
ที่พอจะพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบได้ ก็ภิกษุใดนั่งบนอาสนะเช่นนั้น
ในที่ลับกับมาตุคามสองต่อสอง อุบาสิกามีวาจาเชื่อถือได้ ได้เห็นภิกษุนั่งกับ
มาตุคามนั้นแล้วกล่าวโทษด้วยอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาอาบัติ 2 อย่าง
คือ สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ ภิกษุยอมรับการนั่ง พึงถูกปรับด้วยอาบัติอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง บรรดาอาบัติ 2 อย่าง คือ สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ อีก
อย่างหนึ่ง อุบาสิกาผู้มีวาจาเชื่อถือได้นั้นกล่าวโทษด้วยอาบัติใด ภิกษุนั้นพึงถูก
ปรับด้วยอาบัตินั้น อาบัตินี้ชื่อว่า อนิยต

เรื่องพระอุทายี จบ

สิกขาบทวิภังค์

[454] คำว่า ก็ สถานที่ไม่ใช่อาสนะที่กำบัง อธิบายว่า อาสนะเปิดเผยคือ
ที่ไม่ได้กำบังด้วยฝา บานประตู เสื่อลำแพน ม่านบัง ต้นไม้ เสา หรือพ้อมอย่างใด
อย่างหนึ่ง
คำว่า ไม่พอจะทำการได้ คือ ไม่อาจจะเสพเมถุนกันได้
คำว่า แต่เป็นสถานที่พอจะพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบได้ คือ
อาจพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยคำชั่วหยาบ
คำว่า ก็... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า บนอาสนะเช่นนั้น คือ บนอาสนะเห็นปานนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :480 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [3. อนิยตกัณฑ์] 2. ทุติยอนิยตสิกขาบท บทภาชนีย์

ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่นางยักษ์ ไม่ใช่นางเปรต ไม่ใช่สัตว์
ดิรัจฉานตัวเมีย แต่เป็นหญิงที่รู้เดียงสา สามารถรับรู้ถ้อยคำสุภาษิต ทุพภาษิต คำ
หยาบและคำสุภาพ
คำว่า กับ คือ โดยความเป็นอันเดียวกัน
คำว่า สองต่อสอง ได้แก่ ภิกษุกับมาตุคาม
ที่ชื่อว่า ที่ลับ ได้แก่ ที่ลับตาและลับหู ที่ชื่อว่า ที่ลับตา หมายถึง สถานที่ซึ่ง
เมื่อบุคคลขยิบตา ยักคิ้ว หรือผงกศีรษะขึ้นใครๆ ก็ไม่สามารถเห็นได้ ที่ชื่อว่า ที่ลับหู
หมายถึง ที่ซึ่งไม่มีใครสามารถได้ยินถ้อยคำที่พูดกันตามปกติได้
คำว่า นั่ง หมายความว่า เมื่อมาตุคามนั่ง ภิกษุนั่งใกล้หรือนอนใกล้ เมื่อ
ภิกษุนั่ง มาตุคามนั่งใกล้หรือนอนใกล้ หรือนั่งทั้งสองคน หรือนอนทั้งสองคน
อุบาสิกาชื่อว่า มีวาจาเชื่อถือได้ คือ หญิงผู้บรรลุผล ผู้ตรัสรู้ธรรม ผู้เข้าใจ
ศาสนาดี
ที่ชื่อว่า อุบาสิกา ได้แก่ หญิงผู้ถึงพระพุทธเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ
ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ
คำว่า ได้เห็น คือ ได้พบ
อุบาสิกามีวาจาเชื่อถือได้ กล่าวโทษด้วยอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาอาบัติ
2 อย่าง คือ สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ ภิกษุยอมรับการนั่ง พึงถูกปรับอาบัติอย่างใด
อย่างหนึ่ง บรรดาอาบัติ 2 อย่าง คือ สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ อีกประการหนึ่ง
อุบาสิกาผู้มีวาจาเชื่อถือได้นั้น กล่าวโทษด้วยอาบัติใด ภิกษุนั้น พึงถูกปรับด้วย
อาบัตินั้น

บทภาชนีย์
ปฏิญญาตกรณะ
เห็นกำลังนั่งถูกต้องกาย

[455] ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งถูก
ต้องกายกับมาตุคาม” และภิกษุนั้นก็ยอมรับการนั่ง พึงปรับตามอาบัติ