เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [3. อนิยตกัณฑ์] 2. ทุติยอนิยตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

อย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลาย
ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้

พระบัญญัติ

[453] ก็ สถานที่ไม่ใช่อาสนะที่กำบัง ไม่พอจะทำการได้ แต่เป็นสถาน
ที่พอจะพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบได้ ก็ภิกษุใดนั่งบนอาสนะเช่นนั้น
ในที่ลับกับมาตุคามสองต่อสอง อุบาสิกามีวาจาเชื่อถือได้ ได้เห็นภิกษุนั่งกับ
มาตุคามนั้นแล้วกล่าวโทษด้วยอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาอาบัติ 2 อย่าง
คือ สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ ภิกษุยอมรับการนั่ง พึงถูกปรับด้วยอาบัติอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง บรรดาอาบัติ 2 อย่าง คือ สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ อีก
อย่างหนึ่ง อุบาสิกาผู้มีวาจาเชื่อถือได้นั้นกล่าวโทษด้วยอาบัติใด ภิกษุนั้นพึงถูก
ปรับด้วยอาบัตินั้น อาบัตินี้ชื่อว่า อนิยต

เรื่องพระอุทายี จบ

สิกขาบทวิภังค์

[454] คำว่า ก็ สถานที่ไม่ใช่อาสนะที่กำบัง อธิบายว่า อาสนะเปิดเผยคือ
ที่ไม่ได้กำบังด้วยฝา บานประตู เสื่อลำแพน ม่านบัง ต้นไม้ เสา หรือพ้อมอย่างใด
อย่างหนึ่ง
คำว่า ไม่พอจะทำการได้ คือ ไม่อาจจะเสพเมถุนกันได้
คำว่า แต่เป็นสถานที่พอจะพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบได้ คือ
อาจพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยคำชั่วหยาบ
คำว่า ก็... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า บนอาสนะเช่นนั้น คือ บนอาสนะเห็นปานนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :480 }