เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [3. อนิยตกัณฑ์] 2. ทุติยอนิยตสิกขาบท บทภาชนีย์

ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนอนถูกต้องกาย
กับมาตุคาม” ถ้าภิกษุกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมานอนจริง แต่ไม่ได้ถูกต้องกาย” พึง
ปรับอาบัติเพราะนอน ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นอนแต่นั่งอยู่” พึงปรับอาบัติเพราะนั่ง
ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นอน แต่ยืนอยู่” ไม่พึงปรับอาบัติ

เห็นนั่งในที่ลับ

[449] ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งบนอาสนะ
ที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้กับมาตุคามสองต่อสอง” และภิกษุนั้นยอมรับการนั่ง
นั้น พึงปรับอาบัติเพราะนั่ง ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นั่ง แต่นอนอยู่” พึงปรับอาบัติ
เพราะนอน ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นั่ง แต่ยืนอยู่” ไม่พึงปรับอาบัติ

เห็นนอนในที่ลับ

[450] ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนบนอาสนะ
ที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้กับมาตุคามสองต่อสอง” และภิกษุนั้นยอมรับการ
นอนนั้น พึงปรับอาบัติเพราะนอน ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นอน แต่นั่งอยู่” พึงปรับอาบัติ
เพราะนั่ง ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นอน แต่ยืนอยู่” ไม่พึงปรับอาบัติ
คำว่า อนิยต คือ ไม่แน่ว่าจะเป็นปาราชิก เป็นสังฆาทิเสส หรือเป็นปาจิตตีย์
[451] ภิกษุยอมรับการไป ยอมรับการนั่ง ยอมรับอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ
ภิกษุยอมรับการไป ไม่ยอมรับการนั่ง ยอมรับอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ
ภิกษุยอมรับการไป ยอมรับการนั่ง ไม่ยอมรับอาบัติ พึงปรับอาบัติเพราะนั่ง
ภิกษุยอมรับการไป ไม่ยอมรับการนั่ง ไม่ยอมรับอาบัติ ไม่พึงปรับอาบัติ
ภิกษุไม่ยอมรับการไป ยอมรับการนั่ง ยอมรับอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ
ภิกษุไม่ยอมรับการไป ไม่ยอมรับการนั่ง ยอมรับอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ
ภิกษุไม่ยอมรับการไป ยอมรับการนั่ง ไม่ยอมรับอาบัติ พึงปรับอาบัติเพราะนั่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :478 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [3. อนิยตกัณฑ์] 2. ทุติยอนิยตสิกขาบท นิทานวัตถุ

ภิกษุไม่ยอมรับการไป ไม่ยอมรับการนั่ง ไม่ยอมรับอาบัติ ไม่พึงปรับอาบัติ

ปฐมอนิยตสิกขาบท จบ

2. ทุติยอนิยตสิกขาบท
ว่าด้วยการนั่งในที่ลับหูกับหญิงสองต่อสอง
เรื่องพระอุทายี

[452] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีคิดว่า “พระผู้มีพระ
ภาคทรงห้ามการนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้กับมาตุคามสองต่อสอง”
จึงนั่งเจรจา กล่าวธรรมเหมาะแก่กาลกับหญิงสาวคนเดิม

นางวิสาขามิคารมารดาตำหนิพระอุทายี

แม้ครั้งที่ 2 นางวิสาขามิคารมารดาได้รับเชิญไปสู่ตระกูลนั้น ได้เห็นท่านพระ
อุทายีนั่งในที่ลับกับหญิงสาวสองต่อสอง จึงกล่าวกับท่านพระอุทายีว่า “พระคุณเจ้า
การที่ท่านนั่งในที่ลับกับหญิงสาวเช่นนี้ ไม่เหมาะ ไม่สมควร ท่านไม่ปรารถนาเมถุนก็จริง
ถึงอย่างนั้น ชาวบ้านที่ยังไม่เลื่อมใสก็จะทำให้เชื่อยาก”
ท่านพระอุทายีถูกนางวิสาขาว่ากล่าวตักเตือนก็ไม่เชื่อ
นางวิสาขาจึงออกไปบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน
พระอุทายีจึงนั่งในที่ลับกับหญิงสาวสองต่อสองเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิท่าน
พระอุทายีโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุทายีว่า “อุทายี ทราบว่า เธอนั่งในที่ลับกับหญิงสาวสองต่อสอง
จริงหรือ” ท่านทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงนั่งในที่ลับกับหญิงสาวสองต่อสองเล่า โมฆบุรุษ การกระทำ