เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [3. อนิยตกัณฑ์] 1. ปฐมอนิยตสิกขาบท บทภาชนีย์

ที่ชื่อว่า มีวาจาเชื่อถือได้ ถือ หญิงผู้บรรลุผล1 ผู้ตรัสรู้ธรรม ผู้เข้าใจศาสนาดี
ชื่อว่า อุบาสิกา ได้แก่ หญิงผู้ถึงพระพุทธเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ
ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ
คำว่า ได้เห็น คือ ได้พบ
อุบาสิกามีวาจาเชื่อถือได้ กล่าวโทษด้วยอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดา
อาบัติ 3 อย่าง คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ ภิกษุยอมรับการนั่ง พึงถูก
ปรับ อาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาอาบัติ 3 อย่าง คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส หรือ
ปาจิตตีย์ อีกประการหนึ่ง อุบาสิกาผู้มีวาจาเชื่อถือนั้นกล่าวโทษด้วยอาบัติใด ภิกษุ
นั้นพึงถูกปรับด้วยอาบัตินั้น

บทภาชนีย์
ปฏิญญาตกรณะ 2
เห็นกำลังนั่งเสพเมถุน

[446] ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งเสพ
เมถุนกับมาตุคาม” และภิกษุนั้นก็ยอมรับการนั่งนั้น พึงปรับตามอาบัติ
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งเสพเมถุนกับ
มาตุคาม” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมานั่งจริง แต่ไม่ได้เสพเมถุนธรรม” พึง
ปรับอาบัติเพราะนั่ง
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งเสพเมถุนกับ
มาตุคาม” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมาไม่ได้นั่ง แต่นอน” พึงปรับอาบัติ
เพราะนอน

เชิงอรรถ :
1 หญิงผู้บรรลุผล หมายเอาหญิงผู้ได้โสดาปัตติผลเป็นอย่างต่ำ (ดู วิ.อ. 2/445/135)
2 คำว่า ปฏิญญาตกรณะ แปลว่า ทำตามรับ ได้แก่ปรับอาบัติตามปฏิญญาของจำเลยผู้รับความจริง,
สารภาพความจริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :476 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [3. อนิยตกัณฑ์] 1. ปฐมอนิยตสิกขาบท บทภาชนีย์

ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งเสพเมถุนกับ
มาตุคาม” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมาไม่ได้นั่ง แต่ยืนอยู่” ไม่พึงปรับอาบัติ

เห็นกำลังนอนเสพเมถุน

[447] ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนอน
เสพเมถุนกับมาตุคาม” และภิกษุนั้นยอมรับการนอนนั้น พึงปรับตามอาบัติ
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนอนเสพเมถุนกับ
มาตุคาม” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมานอนจริง แต่ไม่ได้เสพเมถุน” พึง
ปรับอาบัติเพราะนอน
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนอนเสพเมถุนกับ
มาตุคาม” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมาไม่ได้นอน แต่นั่งอยู่” พึงปรับอาบัติ
เพราะนั่ง
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนอนเสพเมถุนกับ
มาตุคาม” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมาไม่ได้นอน แต่ยืนอยู่” ไม่พึงปรับอาบัติ

เห็นกำลังนั่งถูกต้องกาย

[448] ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งถูก
ต้องกายกับมาตุคาม” และภิกษุนั้นยอมรับการนั่งนั้น พึงปรับตามอาบัติ
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งถูกต้องกายกับ
มาตุคาม” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมานั่งจริง แต่ไม่ได้ถูกต้องกาย” พึงปรับ
อาบัติเพราะการนั่ง ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นั่ง แต่นอนอยู่” พึงปรับอาบัติเพราะนอน
ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นั่ง แต่ยืนอยู่” ไม่พึงปรับอาบัติ

เห็นกำลังนอนถูกต้องกาย

ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนอนถูกต้องกาย
กับมาตุคาม” และภิกษุนั้นยอมรับการนอนนั้น พึงปรับตามอาบัติ