เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [3. อนิยตกัณฑ์] 1. ปฐมอนิยตสิกขาบท พระบัญญัติ

ได้เห็นท่านพระอุทายีนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้กับหญิงสาว ครั้น
เห็นแล้วจึงกล่าวกับท่านพระอุทายีว่า “พระคุณเจ้า การที่ท่านนั่งบนอาสนะที่กำบัง
ในที่ลับ พอจะทำการได้กับมาตุคามสองต่อสองเช่นนี้ ไม่เหมาะ ไม่สมควร ท่านไม่
ปรารถนาด้วยธรรมนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น ชาวบ้านที่ยังไม่เลื่อมใสก็ทำให้ เชื่อยาก”
ท่านพระอุทายี แม้ถูกนางวิสาขาว่ากล่าวตักเตือนก็ไม่เชื่อ
นางวิสาขาจึงออกไปบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า
“ไฉนท่านพระอุทายีจึงนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้กับมาตุคามสอง
ต่อสองเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิท่านพระอุทายีโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำ
เรื่องนี้กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุทายีว่า “อุทายี ทราบว่า เธอนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับพอจะ
ทำการได้กับมาตุคามสองต่อสอง จริงหรือ” ท่านทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ การกระทำของเธอไม่สมควร ไม่
คล้อยตาม ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้กับ
มาตุคาม สองต่อสองเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้

พระบัญญัติ

[444] ก็ ภิกษุใดนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้กับมาตุคาม
สองต่อสอง อุบาสิกามีวาจาเชื่อถือได้ ได้เห็นภิกษุนั่งกับมาตุคามนั้นแล้วกล่าว
โทษด้วยอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาอาบัติ 3 อย่าง คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส
หรือปาจิตตีย์ ภิกษุนั้นยอมรับการนั่ง พึงถูกปรับด้วยอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :474 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [3. อนิยตกัณฑ์] 1. ปฐมอนิยตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

บรรดาอาบัติ 3 อย่าง คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ อีกอย่างหนึ่ง
อุบาสิกาผู้มีวาจาเชื่อถือได้นั้น กล่าวโทษด้วยอาบัติใด ภิกษุนั้นพึงถูกปรับด้วย
อาบัตินั้น อาบัตินี้ชื่อว่า อนิยต

เรื่องพระอุทายี จบ

สิกขาบทวิภังค์

[445] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีภาคตรัสว่า ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่นางยักษ์ ไม่ใช่นางเปรต ไม่ใช่สัตว์
ดิรัจฉานตัวเมีย หญิงมนุษย์นั้นโดยที่สุดกระทั่งเด็กหญิงซึ่งเกิดในวันนั้น หญิงโตกว่า
นี้ไม่ต้องกล่าวถึง
คำว่า กับ คือ โดยความเป็นอันเดียวกัน
คำว่า สองต่อสอง ได้แก่ ภิกษุกับมาตุคาม
ที่ชื่อว่า ที่ลับ ได้แก่ ที่ลับตาและลับหู ที่ชื่อว่า ที่ลับตา หมายถึง ที่ซึ่งเมื่อ
บุคคลขยิบตา ยักคิ้วหรือผงกศีรษะขึ้น ใครๆ ก็ไม่สามารถแลเห็นได้ ที่ชื่อว่า ที่ลับหู
หมายถึง ที่ซึ่งไม่มีใครสามารถได้ยินถ้อยคำที่พูดกันตามปกติได้
อาสนะที่ชื่อว่า ที่กำบัง คือ อาสนะที่กำบังด้วยฝา บานประตู เสื่อลำแพน ม่าน
ต้นไม้ เสา หรือพ้อมอย่างใดอย่างหนึ่ง
คำว่า พอจะทำการได้ คือ อาจจะเสพเมถุนธรรมกันได้
คำว่า นั่ง หมายความว่า เมื่อมาตุคามนั่ง ภิกษุนั่งใกล้หรือนอนใกล้ เมื่อ
ภิกษุนั่ง มาตุคามนั่งใกล้หรือนอนใกล้ หรือนั่งทั้งสองคน หรือนอนทั้งสองคน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :475 }