เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [2. สังฆาทิเสสกัณฑ์] 13. กุลทูสกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ความขัดเคือง ไม่ลำเอียงเพราะความหลง ไม่ลำเอียงเพราะความกลัว ท่านประทุษ
ร้ายตระกูล ประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของท่าน เขาได้เห็นและได้
ยินกันทั่ว ตระกูลทั้งหลายที่ท่านประทุษร้าย เขาก็ได้เห็นและได้ยินกันทั่ว ท่านจง
ออกจากอาวาสนี้ อย่าอยู่ที่นี้” พึงว่ากล่าวตักเตือนแม้ครั้งที่ 2 พึงว่ากล่าวตักเตือน
เธอแม้ครั้งที่ 3 ถ้าเธอสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้ง
หลายได้ยินแล้วไม่ว่ากล่าวตักเตือน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึง
คุมตัวมาสู่ท่ามกลางสงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนว่า “ท่านอย่าพูดอย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย
ไม่ลำเอียงเพราะความพอใจ ไม่ลำเอียงเพราะความขัดเคือง ไม่ลำเอียงเพราะ
ความหลง ไม่ลำเอียงเพราะความกลัว ท่านประทุษร้ายตระกูล ประพฤติเลวทราม
ความประพฤติเลวทรามของท่าน เขาได้เห็นและได้ยินกันทั่ว ตระกูลทั้งหลายที่ท่าน
ประทุษร้าย เขาก็ได้เห็นและได้ยินกันทั่ว ท่านจงออกจากอาวาสนี้ อย่าอยู่ที่นี้”
พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ 2 พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ 3 ถ้าเธอ
สละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์เธอ

วิธีสวดสมนุภาสน์ และกรรมวาจาสวดสมนุภาสน์

สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุนั้นอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศ
ให้สงฆ์ทราบว่า
[438] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้ ถูกสงฆ์ทำปัพพาชนีย
กรรมแล้วใส่ความภิกษุทั้งหลายว่ามีความลำเอียงเพราะความพอใจ มีความลำเอียง
เพราะความขัดเคือง มีความลำเอียงเพราะความหลง มีความลำเอียงเพราะความกลัว
ภิกษุนั้นไม่ยอมสละเรื่องนั้น ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้ เพื่อ
ให้สละเรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้ถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้ว
ใส่ความภิกษุทั้งหลายว่า มีความลำเอียงเพราะความพอใจ มีความลำเอียงเพราะ
ความขัดเคือง มีความลำเอียงเพราะความหลง มีความลำเอียงเพราะความกลัว
ภิกษุนั้นไม่ยอมสละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์เธอเพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปใด
เห็นด้วยกับการสวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน
รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [2. สังฆาทิเสสกัณฑ์] 13. กุลทูสกสิกขาบท บทภาชนีย์

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่ 2 ฯลฯ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่ 3 ว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯลฯ ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้สงฆ์สวดสมนุภาสน์แล้วเพื่อให้สละเรื่องนั้น สงฆ์เห็นด้วย เพราะ
ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
[439] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา 2 ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อเธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส
อาบัติทุกกฏ(ที่ต้อง) เพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัย(ที่ต้อง) เพราะกรรมวาจา 2 ครั้ง
ย่อมระงับไป
คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ชัก
เข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัตและเรียกเข้าหมู่ คณะทำไม่ได้ ภิกษุรูปเดียวก็ทำไม่ได้
ฉะนั้น จึงตรัสว่า “เป็นสังฆาทิเสส”
คำว่า เป็นสังฆาทิเสส นั้น เป็นการขนานนาม เป็นคำเรียกหมวดอาบัตินั้น
โดยอ้อมนั่นเอง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า “เป็นสังฆาทิเสส”

บทภาชนีย์

[440] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ไม่สละ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่สละ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติ
ทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :470 }