เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [2. สังฆาทิเสสกัณฑ์] 12. ทุพพจสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ด้วยการว่ากล่าวตักเตือนกันและกัน ด้วยการช่วยเหลือกันและกันให้ออกจากอาบัติ”
ควรว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ 2 ควรว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ 3 ถ้าเธอ
สละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าเธอไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์เธอ

วิธีสวดสมนุภาสน์ และกรรมวาจาสวดสมนุภาสน์

ภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุนั้นอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึง
ประกาศให้สงฆ์ทราบว่า
[427] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้อันภิกษุทั้งหลายว่า
กล่าวตักเตือนโดยชอบธรรม กลับทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้ ภิกษุนั้น
ไม่ยอมสละเรื่องนั้น ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละ
เรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตัก
เตือนโดยชอบธรรม กลับทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้ ภิกษุนั้นไม่ยอม
สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปใดเห็นด้วย
กับการสวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่
เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ 2 ฯลฯ แม้ครั้งที่ 3 ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์
จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนโดยชอบธรรม กลับทำตัว
ให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้ ภิกษุนั้นไม่ยอมสละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์
ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการสวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้
เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้สงฆ์สวดสมนุภาสน์ เพื่อให้สละเรื่องนั้น สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
[428] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา 2 ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อเธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :457 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [2. สังฆาทิเสสกัณฑ์] 12. ทุพพจสิกขาบท อนาปัตติวาร

อาบัติทุกกฏ(ที่ต้อง) เพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัย(ที่ต้อง) เพราะกรรมวาจา 2 ครั้ง
ย่อมระงับไป
คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส
ฯลฯ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า “เป็นสังฆาทิเสส”

บทภาชนีย์

[429] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ไม่สละ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่สละ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร

ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[430] 1. ภิกษุยังไม่ถูกสวดสมนุภาสน์
2. ภิกษุผู้ยอมสละ
3. ภิกษุวิกลจริต
4. ภิกษุต้นบัญญัติ

ทุพพจสิกขาบทที่ 12 จบ