เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [2. สังฆาทิเสสกัณฑ์] 12. ทุพพจสิกขาบท พระบัญญัติ

โดยชอบธรรมกลับทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้ จริงหรือ” ท่านพระฉันนะ
ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ
การกระทำอย่างนี้ไม่สมควร ฯลฯ ไม่ควรทำ โมฆบุรุษ ไฉนเธออันภิกษุทั้งหลายว่า
กล่าวตักเตือนโดยชอบธรรมจึงทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้ โมฆบุรุษ
การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุ
ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้

พระบัญญัติ

[425] ก็ ภิกษุเป็นคนว่ายาก อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนโดย
ชอบธรรม ในสิกขาบทที่มาในอุทเทศ กลับทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือน
ไม่ได้ โดยกล่าวว่า “พวกท่านอย่าว่ากล่าวอะไรผม ไม่ว่าดีหรือเลว ถึงผมก็จะ
ไม่ว่ากล่าวอะไรพวกท่าน ไม่ว่าดีหรือเลวเหมือนกัน พวกท่านงดเว้นว่ากล่าวผม
เถิด” ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า “ท่านอย่าทำตัว
ให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้ จงทำตัวให้เป็นคนที่เขาว่ากล่าวตักเตือนได้
แม้ท่านก็จงว่ากล่าวตักเตือนภิกษุทั้งหลายโดยชอบธรรม แม้ภิกษุทั้งหลายก็จะ
ว่ากล่าวตักเตือนท่านโดยชอบธรรม เพราะว่าบริษัทของพระผู้มีพระภาคเจริญ
แล้วด้วยอาการอย่างนี้ คือด้วยการว่ากล่าวตักเตือนกันและกัน ด้วยการช่วย
เหลือกันและกันให้ออกจากอาบัติ” ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือน
อยู่อย่างนี้ ก็ยังยกย่องอยู่อย่างนั้น ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์
จนครบ 3 ครั้งเพื่อให้สละเรื่องนั้น ถ้าเธอกำลังถูกสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบ 3
ครั้ง สละเรื่องนั้นได้ นั่นเป็นการดี ถ้าเธอไม่สละ เป็นสังฆาทิเสส

เรื่องพระฉันนะ จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [2. สังฆาทิเสสกัณฑ์] 12. ทุพพจสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

สิกขาบทวิภังค์

[426] คำว่า ก็...ภิกษุเป็นคนว่ายาก ความว่า เป็นผู้ว่ายาก ประกอบ
ด้วยธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก ไม่อดทนรับคำสอนโดยเคารพ
คำว่า ในสิกขาบทที่มาในอุทเทศ ได้แก่ ในสิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์
คำว่า ภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุเหล่าอื่น
ชื่อว่า โดยชอบธรรม คือ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัตติแล้ว นั่น
ชื่อว่า โดยชอบธรรม
ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนอยู่โดยสิกขาบทชอบธรรมนั้น
กลับทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้โดยกล่าวว่า “พวกท่านอย่าว่ากล่าว
อะไรผมไม่ว่าดีหรือเลว ถึงผมก็จะไม่ว่ากล่าวอะไรพวกท่าน ไม่ว่าดีหรือเลว พวก
ท่านจงเว้นว่ากล่าวผมเถิด”
คำว่า ภิกษุนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้ว่ายากนั้น
คำว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ อันภิกษุเหล่าอื่น
อธิบายว่า ภิกษุผู้ได้เห็น ผู้ได้ยินพึงว่ากล่าวตักเตือนภิกษุเป็นคนว่ายากนั้นว่า
“ท่านอย่าทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้ จงทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตัก
เตือนได้ แม้ท่านจงว่ากล่าวตักเตือนภิกษุทั้งหลายโดยชอบธรรม แม้ภิกษุทั้งหลายก็
จะว่ากล่าวตักเตือนท่านโดยชอบธรรม เพราะว่าบริษัทของพระผู้มีพระภาคเจริญแล้ว
ด้วยอาการอย่างนี้ คือ ด้วยการว่ากล่าวตักเตือนกันและกัน ด้วยการช่วยเหลือกัน
และกันให้ออกจากอาบัติ” ควรว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ 2 ควรว่ากล่าวตัก
เตือนเธอแม้ครั้งที่ 3 ถ้าเธอสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าเธอไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลายได้ยินแล้วไม่ว่ากล่าวตักเตือน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้ง
หลายพึงคุมตัวมาสู่ท่ามกลางสงฆ์ ว่ากล่าวตักเตือนว่า “ท่านอย่าทำตัวให้เป็นคนที่
ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้ จงทำตัวให้เป็นคนที่เขาว่ากล่าวตักเตือนได้ แม้ท่านจงว่า
กล่าวตักเตือนภิกษุทั้งหลายโดยชอบธรรม แม้ภิกษุทั้งหลายก็จะว่ากล่าวตักเตือน
ท่านโดยชอบธรรม เพราะบริษัทของพระผู้มีพระภาคเจริญแล้วด้วยอาการอย่างนี้ คือ