เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [2. สังฆาทิเสสกัณฑ์] 11. สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

นั้นยังไม่สละเรื่องนั้น ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงสวดสมนุภาสน์ ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และ
ชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้ ประพฤติตาม
กล่าวสนับสนุนภิกษุชื่อนี้ผู้เพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ ภิกษุเหล่านั้นยังไม่สละเรื่อง
นั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปใด
เห็นด้วยกับการสวดสมนุภาสน์ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่าน
รูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ 2 ฯลฯ แม้ครั้งที่ 3 ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอ
สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้ ประพฤติตาม กล่าวสนับสนุนภิกษุชื่อ
นี้ผู้เพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ ภิกษุเหล่านั้นยังไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวด
สมนุภาสน์ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการ
สวดสมนุภาสน์ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้ สงฆ์สวดสมนุภาสน์เพื่อให้สละเรื่องนั้น สงฆ์เห็น
ด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
[421] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา 2 ครั้ง ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อพวกเธอต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส อาบัติทุกกฏ(ที่ต้อง) เพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัย(ที่ต้อง) เพราะกรรมวาจา
2 ครั้ง ย่อมระงับไป
สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุ 2-3 รูปคราวเดียวกัน ไม่พึงสวดสมนุภาสน์
ภิกษุมากกว่านั้นคราวเดียวกัน
คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ฯลฯ
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า “เป็นสังฆาทิเสส”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :452 }