เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [2. สังฆาทิเสสกัณฑ์] 10. สังฆเภทสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

จงพร้อมเพรียงกับสงฆ์ เพราะสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ปรองดอง ไม่วิวาท มีอุทเทส
เดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก” และภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนอย่างนี้
ยังยกย่องอยู่อย่างนั้น ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์จนครบ 3
ครั้งเพื่อให้สละเรื่องนั้น ถ้าเธอกำลังถูกสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบ 3 ครั้ง สละ
เรื่องนั้นได้ นั่นเป็นการดี ถ้าเธอไม่สละ เป็นสังฆาทิเสส

เรื่องพระเทวทัต จบ

สิกขาบทวิภังค์

[412] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ชื่อว่า ผู้พร้อมเพรียง คือ สงฆ์ผู้มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสีมาเดียวกัน
คำว่า เพียรพยายามเพื่อทำลาย คือ แสวงหาพวก รวมกันเป็นหมู่ โดยมุ่ง
หมายว่า ทำอย่างไร ภิกษุเหล่านี้จะแตกกันแยกกัน แบ่งเป็นพวก
คำว่า หรือ...อธิกรณ์อันเป็นเหตุทำให้แตกแยกกัน ได้แก่ เรื่องทำให้แตกกัน
18 อย่าง1

เชิงอรรถ :
1 เรื่องทำให้แตกกัน 18 อย่าง คือ (1) แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม (2) แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
(3) แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย (4) แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย (5) แสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ตรัสไว้
(6) แสดงสิ่งที่พระตถาคตได้ตรัสไว้ว่าไม่ได้ตรัสไว้ (7) แสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ทรงประพฤติมา
(8) แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงประพฤติมาว่าไม่ทรงประพฤติมา (9) แสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ทรงบัญญัติไว้
ว่าทรงบัญญัติไว้ (10) แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ว่าไม่ทรงบัญญัติไว้ (11) แสดงอาบัติว่าไม่ใช่อาบัติ
(12) แสดงสิ่งที่ไม่ใช่อาบัติว่าเป็นอาบัติ (13) แสดงอาบัติเบาว่าเป็นอาบัติหนัก (14) แสดงอาบัติหนักว่า
เป็นอาบัติเบา (15) แสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่าเป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ (16) แสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่า
เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ (17) แสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ (18) แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า
เป็นอาบัติชั่วหยาบ (วิ.ป. 8/314/248)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :445 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [2. สังฆาทิเสสกัณฑ์] 10. สังฆเภทสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

คำว่า ถือ คือ ยึดเอา
คำว่า ยกย่อง คือ แสดง
คำว่า ยืนยัน คือ ไม่กลับคำ
คำว่า ภิกษุนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์
คำว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ อันภิกษุเหล่าอื่น
อธิบายว่า ภิกษุผู้ได้เห็น ผู้ได้ยินพึงว่ากล่าวตักเตือนภิกษุผู้เพียรพยายาม
เพื่อทำลายสงฆ์นั้นว่า “ท่านอย่าเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง หรือ
อย่าถือยกย่องยืนยันอธิกรณ์อันเป็นเหตุทำให้แตกแยกกัน ท่านจงพร้อมเพรียง
กับสงฆ์ เพราะสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ปรองดอง ไม่วิวาท มีอุทเทสเดียวกัน ย่อมอยู่
ผาสุก” พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ 2 พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ 3 ถ้า
เธอสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าเธอไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลายทราบแล้วไม่
ว่ากล่าวตักเตือน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงคุมตัวมาสู่ท่ามกลาง
สงฆ์ ว่ากล่าวตักเตือนว่า “ท่านอย่าเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง
หรืออย่าถือยกย่องยืนยันอธิกรณ์อันเป็นเหตุทำให้แตกแยกกัน ท่านจงพร้อมเพรียง
กับสงฆ์ เพราะสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ปรองดอง ไม่วิวาท มีอุทเทสเดียวกัน ย่อมอยู่
ผาสุก” พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ 2 พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ 3 ถ้า
เธอสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าเธอไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์เธอ

วิธีสวดสมนุภาสน์ และกรรมวาจาสวดสมนุภาสน์1

ภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุนั้นอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึง
ประกาศให้สงฆ์ทราบว่า
[413] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เพียรพยายามเพื่อ
ทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ภิกษุนั้นไม่ยอมสละเรื่องนั้น ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วก็พึงสวด
สมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ

เชิงอรรถ :
1 การสวดสมนุภาสน์ คือ สงฆ์ตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไปสวดประกาศห้ามภิกษุไม่ให้ถือรั้นการอันมิชอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :446 }