เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [2. สังฆาทิเสสกัณฑ์] 9. ทุติยทุฎฐโทสสิกขาบท บทภาชนีย์

คำว่า ครั้นสมัยต่อจากนั้น ความว่า ล่วงขณะ ลยะ ครู่ที่ภิกษุถูกใส่ความไป
แล้ว
คำว่า อันผู้ใดผู้หนึ่งโจทก็ตาม คือ จะมีผู้เชื่อถือตามเรื่องที่ทำให้ภิกษุนั้นถูก
ใส่ความก็ตาม
คำว่า ไม่โจทก็ตาม คือ ไม่มีใครๆ กล่าวถึงภิกษุนั้น
ชื่อว่า อธิกรณ์ ได้แก่ อธิกรณ์ 4 อย่างคือ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์
อาปัตตาธิกรณ์ และกิจจาธิกรณ์
คำว่า อ้างเอาบางส่วน...เป็นเลศ คือ ถือเอาเลศ 10 อย่างนั้น อย่างใด
อย่างหนึ่ง
คำว่า และภิกษุยอมรับผิด ความว่า ภิกษุนั้นยอมรับว่า “ข้าพเจ้าพูดคำไร้
ประโยชน์ พูดเท็จ พูดไม่จริง ไม่รู้จึงพูด”
คำว่า สังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ฯลฯ
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า “เป็นสังฆาทิเสส”

บทภาชนีย์
เอเกกมูลจักร
โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

[406] ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส มีความเห็นอาบัติ
สังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าเธอโจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติปาราชิกว่า “ท่าน
ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ท่านร่วมอุโบสถ ปวารณาหรือสังฆกรรม
ไม่ได้” แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นข้ออื่น และเธออ้างเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ทุก ๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นอาบัติ
สังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติถุลลัจจัย ถ้าเธอโจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติปาราชิกว่า “ท่านไม่
เป็นสมณะ ฯลฯ” แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นอาบัติข้ออื่นและเธออ้างเอาเป็นเลศ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุก ๆ คำพูด