เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [2. สังฆาทิเสสกัณฑ์] 8. ปฐมทุฎฐโทสสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพระเมตติยะและพระภุมมชกะว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า เธอทั้งสองใส่
ความทัพพมัลลบุตร ด้วยอาบัติปาราชิกที่ไม่มีมูลจริงหรือ” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษทั้งหลาย
ไฉนพวกเธอ จึงใส่ความทัพพมัลลบุตรด้วยอาบัติปาราชิกที่ไม่มีมูลเล่า โมฆบุรุษ
ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับ
สั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้

พระบัญญัติ

[385] ก็ ภิกษุใด ขัดเคือง มีโทสะ ไม่แช่มชื่น ใส่ความภิกษุด้วย
อาบัติปาราชิกที่ไม่มีมูล โดยมุ่งหมายว่า “ทำอย่างไรจึงจะให้ภิกษุนั้นพ้นจาก
พรหมจรรย์นี้ได้” ครั้นสมัยต่อจากนั้น อันผู้ใดผู้หนึ่งโจทก็ตามไม่โจทก็ตาม
อธิกรณ์นั้นเป็นเรื่องไม่มีมูล และภิกษุยอมรับผิด เป็นสังฆาทิเสส

เรื่องพระเมตติยะและพระภุมมชกะ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[386] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ภิกษุ หมายถึง ภิกษุอื่น
คำว่า ขัดเคือง มีโทสะ คือ โกรธ ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ แค้นใจ เจ็บใจ
คำว่า ไม่แช่มชื่น คือ ไม่แช่มชื่นเพราะความโกรธนั้น เพราะมีโทสะนั้น
เพราะไม่พอใจนั้น และเพราะไม่ชอบใจนั้น


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [2. สังฆาทิเสสกัณฑ์] 8. ปฐมทุฎฐโทสสิกขาบท บทภาชนีย์

ชื่อว่า ที่ไม่มีมูล คือไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้นึกสงสัย
คำว่า ด้วยอาบัติปาราชิก คือ ด้วยอาบัติปาราชิก 4 ข้อใดข้อหนึ่ง
คำว่า ใส่ความ ได้แก่ โจทเอง หรือสั่งให้ผู้อื่นโจท
คำว่า ทำอย่างไรจึงจะให้ภิกษุนั้นพ้นจากพรหมจรรย์นี้ได้ ความว่า ให้พ้น
จากความเป็นภิกษุ ให้พ้นจากสมณธรรม ให้พ้นจากศีลขันธ์ ให้พ้นจากคุณคือตบะ
คำว่า ครั้นสมัยต่อจากนั้น ความว่า ล่วงขณะ ลยะ ครู่ที่ภิกษุถูกใส่ความไป
แล้ว
คำว่า อันผู้ใดผู้หนึ่งโจทก็ตาม คือ จะมีผู้เชื่อถือตามเรื่องที่ทำให้ภิกษุนั้นถูก
ใส่ความก็ตาม
คำว่า ไม่โจทก็ตาม คือ ไม่มีใครๆ กล่าวถึงภิกษุนั้น
ชื่อว่า อธิกรณ์ ได้แก่ อธิกรณ์ 4 อย่าง คือ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์
อาปัตตาธิกรณ์ และกิจจาธิกรณ์
คำว่า และภิกษุยอมรับผิด ความว่า ภิกษุนั้นยอมรับว่า “ข้าพเจ้าพูดคำไร้
ประโยชน์ พูดเท็จ พูดไม่จริง ไม่รู้จึงพูด”
คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ฯลฯ
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า “เป็นสังฆาทิเสส”

บทภาชนีย์
ไม่เห็น โจทว่าได้เห็น

[387] ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ถ้าโจทภิกษุนั้นว่า
“ข้าพเจ้าเห็นท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร
ท่านร่วมอุโบสถ ปวารณาหรือสังฆกรรมไม่ได้” ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ไม่ได้ยิน โจทว่าได้ยิน

ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้ยินว่า ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ถ้าโจทภิกษุนั้นว่า
“ข้าพเจ้าได้ยินว่าท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสาย