เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 1 บทภาชนีย์ สันถตภาณวาร

ของพระวินัย คำที่เป็นไวพจน์ของพระปาติโมกข์ คำที่เป็นไวพจน์ของอุทเทส คำที่
เป็นไวพจน์ของพระอุปัชฌาย์ คำที่เป็นไวพจน์ของพระอาจารย์ คำที่เป็นไวพจน์ของ
สัทธิวิหาริก คำที่เป็นไวพจน์ของอันเตวาสิก คำที่เป็นไวพจน์ของภิกษุผู้ร่วมพระ
อุปัชฌาย์ คำที่เป็นไวพจน์ของภิกษุผู้ร่วมพระอาจารย์ คำที่เป็นไวพจน์ของเพื่อน
พรหมจารี คำที่เป็นไวพจน์ของคฤหัสถ์ คำที่เป็นไวพจน์ของอุบาสก คำที่เป็นไวพจน์
ของคนวัด คำที่เป็นไวพจน์ของสามเณร คำที่เป็นไวพจน์ของเดียรถีย์ คำที่เป็น
ไวพจน์ของสาวกของเดียรถีย์ คำที่เป็นไวพจน์ของผู้มิใช่สมณะ คำที่เป็นไวพจน์ของ
ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร แม้อื่นใดที่มีอยู่ ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ด้วยคำที่เป็นไวพจน์
เหล่านั้น อันเป็นอาการ เป็นลักษณะ เป็นสัญลักษณ์
ภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าเป็นการเปิดเผยความท้อแท้ และเป็นการ
บอกคืนสิกขา

ลักษณะที่บอกคืนสิกขาแล้วไม่เป็นอันบอกคืน

[54] ภิกษุทั้งหลาย อย่างไร ชื่อว่าไม่เป็นการบอกคืนสิกขา คือ ภิกษุผู้
วิกลจริต บอกคืนสิกขาด้วยคำที่เป็นอาการ เป็นลักษณะ เป็นสัญลักษณ์ ตามที่ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้บอกคืนสิกขากัน ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา
ภิกษุปกติบอกคืนสิกขาต่อหน้าภิกษุผู้วิกลจริต ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา
ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่านบอกคืนสิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา
ภิกษุบอกคืนสิกขาต่อหน้าภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา
ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนาบอกคืนสิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา
ภิกษุบอกคืนสิกขาต่อหน้าภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ย่อมไม่เป็น
อันบอกคืนสิกขา
ภิกษุบอกคืนสิกขาต่อหน้าเทวดา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา
ภิกษุบอกคืนสิกขาต่อหน้าสัตว์ดิรัจฉาน ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 1 สิกขาบทวิภังค์

ภิกษุบอกคืนสิกขาต่อหน้าชาวมิลักขะ ด้วยภาษาชาวอริยกะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ
ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา
ภิกษุบอกคืนสิกขาต่อหน้าชาวอริยกะ ด้วยภาษาชาวมิลักขะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ
ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา
ภิกษุบอกคืนสิกขาต่อหน้าชาวอริยกะ ด้วยภาษาชาวอริยกะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ
ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา
ภิกษุบอกคืนสิกขาต่อหน้าชาวมิลักขะ ด้วยภาษาชาวมิลักขะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ
ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา
ภิกษุบอกคืนสิกขา โดยพูดเล่น ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา
ภิกษุบอกคืนสิกขา โดยพูดพลั้งพลาด ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา
ภิกษุไม่ประสงค์จะประกาศ แต่ประกาศให้ได้ยิน ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา
ภิกษุประสงค์จะประกาศ แต่ไม่ประกาศให้ได้ยิน ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา
ภิกษุประกาศแก่ผู้ไม่เข้าใจความหมาย ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา
ภิกษุไม่ประกาศแก่ผู้เข้าใจความหมาย ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา
ภิกษุไม่ประกาศโดยประการทั้งปวง ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้ ชื่อว่าไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา

สิกขาบทวิภังค์

[55] ที่ชื่อว่า เมถุนธรรม ได้แก่ อสัทธรรม ซึ่งเป็นประเวณีของชาวบ้าน
มารยาทของคนชั้นต่ำ กิริยาชั่วหยาบ มีน้ำเป็นที่สุด เป็นกิจที่จะต้องทำในที่ลับ
ต้องทำกันสองต่อสอง นี้ชื่อว่าเมถุนธรรม
ที่ชื่อว่า เสพ ได้แก่ ภิกษุใด สอดเครื่องหมายเพศเข้าไปทางเครื่องหมายเพศ
สอดองคชาตเข้าไปทางองค์กำเนิด โดยที่สุดเข้าไปแม้เพียงเมล็ดงา ภิกษุนี้ชื่อว่า เสพ
คำว่า โดยที่สุดแม้กับสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ความว่า ภิกษุเสพเมถุนธรรมแม้
กับสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ก็ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร จะกล่าวไปใย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :42 }