เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 1 สิกขาบทวิภังค์

สิกขาบทวิภังค์

[45] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด มีการงาน มีชาติวรรณะ มีชื่อ มี
ตระกูล มีลักษณนิสัย มีคุณธรรมมีอารมณ์อย่างไร เป็นเถระ นวกะหรือมัชฌิมะ1 นี้
ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ
อาศัยการเที่ยวขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะใช้ผืนผ้าที่ถูกทำให้เสียราคา2 ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะเรียกกันโดยโวหาร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะการปฏิญญาตน ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ
พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้อุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า
ภิกษุ เพราะเป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้มีสาระ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้ยัง
ต้องศึกษา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้ไม่ต้องศึกษา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้ที่สงฆ์
พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรมที่ถูกต้อง สมควรแก่เหตุ ในภิกษุที่
กล่าวมานั้น ภิกษุผู้ที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรมที่ถูกต้อง
สมควรแก่เหตุนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า สิกขา ได้แก่ สิกขา 3 อย่าง คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และ
อธิปัญญาสิกขา ในสิกขา 3 นั้น อธิสีลสิกขานี้ที่ทรงประสงค์เอาในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า สาชีพ หมายถึง สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ ภิกษุ
ศึกษาสาชีพนั้น เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยสาชีพ
คำว่า ไม่บอกคืนสิกขา ไม่เปิดเผยความท้อแท้ มีพุทธาธิบายว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย การเปิดเผยความท้อแท้ แต่ไม่เป็นการบอกคืนสิกขาก็มี การเปิดเผยความ
ท้อแท้ และเป็นการบอกคืนสิกขาก็มี

เชิงอรรถ :
1 เถระ พระผู้ใหญ่ ตามวินัยกำหนดว่ามีพรรษาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป นวกะ ภิกษุผู้มีพรรษายังไม่ครบ 5
มัชฌิมะ ภิกษุผู้มีพรรษาครบ 5 แล้ว แต่ยังไม่ถึง 10 พรรษา(วิ.อ. 1/45/253)
2 เสียราคา เพราะทำให้เสียสี 1 เพราะใช้ศัตราตัดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย 1 เพราะทำให้เป็นตำหนิด้วยการ
ทำพินทุกัปปะ 1 (วิ.อ. 1/45/253-4)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :33 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 1 บทภาชนีย์ สันถตภาณวาร

บทภาชนีย์
ลักษณะที่ไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา

ภิกษุทั้งหลาย อย่างไร ชื่อว่าการเปิดเผยความท้อแท้ แต่ไม่เป็นการบอกคืน
สิกขา

1. การบอกคืนสิกขาด้วยการใช้คำรำพึง 14 บท

(1) ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ปรารถนาจะสึก
อึดอัด เบื่อหน่าย รังเกียจเพศภิกษุ ปรารถนาจะเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาจะเป็นอุบาสก
ปรารถนาจะเป็นคนวัด ปรารถนาจะเป็นสามเณร ปรารถนาจะเป็นเดียรถีย์ ปรารถนา
จะเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาจะไม่เป็นสมณะ ปรารถนาจะไม่เป็นเชื้อสายพระ
ศากยบุตร บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า “ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า”
ภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ชื่อว่าเป็นการเปิดเผยความท้อแท้ แต่ไม่เป็นการ
บอกคืนสิกขา
(2) อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัย กระสัน ไม่ยินดี ปรารถนาจะสึก
อึดอัด เบื่อหน่าย รังเกียจเพศภิกษุ ปรารถนาจะเป็นคฤหัสถ์ ฯลฯ ปรารถนาจะไม่
เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม
(3) ...บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ (4) ...บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า
ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา (5) ...บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึง
บอกคืนพระวินัย (6) ...บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระปาติโมกข์
(7) ...บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุทเทส1 (8) ...บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า
ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌาย์ (9) ...บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ไฉนหนอ
ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ (10) ...บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอก
คืนสัทธิวิหาริก (11) ...บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอันเตวาสิก

เชิงอรรถ :
1 อุทเทส ในที่นี้ คือ การยกภิกขุปาติโมกข์ ภิกขุนีปาติโมกข์ขึ้นสวด (วิ.อ. 1/53/269)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :34 }