เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [2. สังฆาทิเสสกัณฑ์] 1. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

กาล 5

(1) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเมื่อเกิดความกำหนัด (2) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้
เคลื่อนเมื่อปวดอุจจาระ (3) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเมื่อปวดปัสสาวะ (4) ภิกษุทำ
น้ำอสุจิให้เคลื่อนเมื่อต้องลม (5) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเมื่อถูกบุ้งขน

เจตนา 10 ประการ

(1) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อความหายโรค (2) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้
เคลื่อนเพื่อความสุข (3) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อเป็นยา (4) ภิกษุทำน้ำอสุจิ
ให้เคลื่อนเพื่อเป็นทาน (5) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อเป็นบุญ (6) ภิกษุทำ
น้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อบูชายัญ (7) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อจะไปสวรรค์
(8) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อสืบพันธุ์ (9) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อทดลอง
(10) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อความสนุก

วัตถุที่ประสงค์ 10 ประการ

(1) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเขียวให้เคลื่อน (2) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเหลืองให้เคลื่อน
(3) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีแดงให้เคลื่อน (4) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีขาวให้เคลื่อน (5) ภิกษุ
ทำน้ำอสุจิสีเหมือนเปรียงให้เคลื่อน (6) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่าให้เคลื่อน
(7) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมันให้เคลื่อน (8) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเหมือนนมสดให้
เคลื่อน (9) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเหมือนนมส้มให้เคลื่อน (10) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเหมือน
เนยใสให้เคลื่อน
[238] คำว่า ในรูปภายใน ได้แก่ รูปที่มีวิญญาณครองในตัว1
คำว่า ในรูปภายนอก ได้แก่ รูปที่มีวิญญาณครองหรือที่ไม่มีวิญญาณครอง
นอกตัว2

เชิงอรรถ :
1 “รูปที่มีวิญญาณครองในตัว” หมายถึง มือของตนเป็นต้น(วิ.อ. 2/238/8)
2 “รูปที่มีวิญญาณครองหรือที่ไม่มีวิญญาณครองนอกตัว” หมายถึง มือของผู้อื่นเป็นต้น (วิ.อ. 2/238/8)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :253 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [2. สังฆาทิเสสกัณฑ์] 1. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

คำว่า ในรูปภายในและภายนอก ได้แก่ รูปทั้ง 2 นั้น
คำว่า เมื่อส่ายสะเอวในอากาศ หมายความว่า เมื่อภิกษุพยายามในอากาศ
องคชาตใช้การได้
คำว่า เมื่อเกิดความกำหนัด คือ เมื่อถูกความกำหนัดรบกวน องคชาตใช้การ
ได้
คำว่า เมื่อปวดอุจจาระ คือ เมื่อปวดอุจจาระ องคชาตใช้การได้
คำว่า เมื่อปวดปัสสาวะ คือ เมื่อปวดปัสสาวะ องคชาตใช้การได้
คำว่า เมื่อต้องลม คือ เมื่อถูกลมรำเพย องคชาตใช้การได้
คำว่า เมื่อถูกบุ้งขน คือ เมื่อถูกบุ้งขนเบียดเบียนแล้ว องคชาตใช้การได้
[239] คำว่า เพื่อความหายโรค คือ มุ่งว่าจะเป็นผู้ไม่มีโรค
คำว่า เพื่อความสุข คือ มุ่งว่าจะให้เกิดสุขเวทนา
คำว่า เพื่อเป็นยา คือ มุ่งว่าจะเป็นยา
คำว่า เพื่อเป็นทาน คือ มุ่งว่าจะให้ทาน
คำว่า เพื่อเป็นบุญ คือ มุ่งว่าจะเป็นบุญ
คำว่า เพื่อบูชายัญ คือ มุ่งว่าจะบูชายัญ
คำว่า เพื่อจะไปสวรรค์ คือ มุ่งว่าจะได้ไปสวรรค์
คำว่า เพื่อสืบพันธุ์ คือ มุ่งว่าจักสืบพันธุ์
คำว่า เพื่อทดลอง คือ ทดลองว่า น้ำอสุจิจักเป็นสีเขียว น้ำอสุจิจักเป็นสี
เหลือง น้ำอสุจิจักเป็นสีแดง น้ำอสุจิจักเป็นสีขาว น้ำอสุจิจักเป็นสีเหมือนเปรียง น้ำ
อสุจิจักเป็นสีเหมือนน้ำท่า น้ำอสุจิจักเป็นสีเหมือนน้ำมัน น้ำอสุจิจักเป็นสีเหมือน
นมสด น้ำอสุจิจักเป็นสีเหมือนนมส้ม น้ำอสุจิจักเป็นสีเหมือนเนยใส
คำว่า เพื่อความสนุก คือ มีความประสงค์จะเล่น